การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ เรื่อง สถิติ (2) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พัชรมัย ชาดา
พินดา วราสุนันท์
รัตนาภรณ์ หงษคำมี
วุฒินันท์ ไอรยาวัฒนา
ณัฐนนท์ กลำพบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                  ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาพัฒนาการของทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  เรื่อง สถิติ (2) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางบัวทอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 จำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งสิ้น 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรม             การเรียนรู้ 3) แบบสอบปรนัยเพื่อประเมินทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA) E1/E2 และสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และผ่านการปรับปรุงแก้ไขได้แก่ ความเหมาะสมของภาษา ปรับลักษณะ


โจทย์คำถาม ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70 โดยมีค่า E1/E2 เท่ากับ 71.68/71.94 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) มีพัฒนาการความสามารถของทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งความสามารถของทักษะการสื่อการ การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอระหว่างเรียนและหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.51 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร พัฒเสมา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.ชาติ คนอยู่ตระกูล แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี และขวัญหญิง ศรีประเสริญภาพ. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ผสานด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง วิชาคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(2), 39-54.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ณัฐนนท์ กลำพบุตร พินดา วราสุนันท์ สุนทราภรณ์ อุ่นวรรณธรรมอังสนา ศรีสวนแตง และวัฒนา มณีวงศ์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ เรื่อง สถิติ (2) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 221-232.

ปิยวรรณ ไกรนรา. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกาลิซา อำเภอระแงะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. วารสาร วิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 55-66.

ฝนแก้ว กาฬภักดี เนติ เฉลยวาเรศ และทรงศรี ตุ่นทอง. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สถิติกลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 67-82.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อการเรียนรู้จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 71-82.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.

สุกัญญา แย้มกลีบ จักรกฤษณ์ สมพงษ์ และอังคณา อ่อนธานี. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2.(2559). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(2), 103-121.

อรนิภา ไทยแท้. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับการเขียนสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 109-124.

Chalom Chairiboon and Sathaporn Khanto. (2010). The development of mathematics learning activities based on constructivist theory in “Probability” for grade-9 students. Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University, Songkla.

National Council of Teachers of Mathematics. (1989). Curriculum and Evaluation Standards for Schools Mathematics. Reston: Virginia.

Smith, J. E. (1972). The Learning Activity Package (LAP). Education Technology, 9, 15-17.

Taweesit Panyayong and Katawut Chatsakyuth. (2020). Mathematics learning activities development for knowledge transfer of local wisdom in Education Fund Project of Uttaradit, with the integrated method in accordance with STEM education. Faculty of Education, Uttaradit Rajabhat University, Uttaradit.

Udu, D. A. & Eze, C. U. (2019). Utilization of learning activity package in the classroom: impact on senior secondary school students’ academic achievement in organic chemistry. Department of Science Education, Faculty of Education, Federal University Ndufu-Alike Ikwo (FUNAI) Ebonyi State, Nigeria.