การศึกษาการรับรู้ความสามารถตนเอง และแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน

Main Article Content

ชลิตารัตน์ คิดถูก
เนตรชนก จันทร์สว่าง
สมสงวน ปัสสาโก

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน และ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 26 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ ใช้เวลา 14 ชั่วโมง 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 แสดงความสามารถของตนเอง เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และส่วนที่ 2 แสดงการรับรู้ความสามารถของตนเอง เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 3 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25-0.64 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และ 3) แบบวัดแรงจูงใจในการเรียนเป็นข้อคำถามแบบมาตรประมาณค่า                5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26-0.81 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระ Paired Samples t-test


                ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับมากมี ( gif.latex?\bar{X} =4.24, S.D.=0.09). สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับปานกลางมี ( gif.latex?\bar{X}=2.92, S.D.=0.18)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานพื้นฐาน. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นตี้.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ ขุนฤทธิ์. (2559). การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจมหาวิทยาลัยสวนดุสิตศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 1055-1064.

มะลิวัลย์ สมบูรณ์. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การรับรู้ความสามารถของตนเองและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกำกับตนเองกับแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รจเรข รัตนาจารย์. (2547). ผลของการฝึกการกำกับตนเองในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนบรบือวิทยาคาร. (2563). รายงานการประเมินตนเองของ สถานศึกษา(Self-Assessment Report: SAR) โรงเรียนบรบือวิทยาคาร ปีการศึกษา 2563. มหาสารคาม:โรงเรียนบรบือวิทยาคาร.

วรทา รุ่งบานจิต. (2556). แรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิชชพร เทียบจัตุรัส. (2559). การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.ในประชุมวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 243-251.

สกลรัชต์ แก้วดี. (2560). แรงจูงใจและการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 243-260.

สัมมา รธนิธย์. (2553). ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สำนึกงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2542). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี.

สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

แอนนา ผลไสว และสมบูรณ์ เจตน์จำลอง. (2562). การพัฒนาแรงจูงใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 27(55), 232-253.

อุรัจฉทาธ์ นามรักษ์. (2555). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bandura, A. (1996). Multifaceted Impact of self-efficacy beliefs on academic functioning. Child development, 67(3), 1206-1222.

Bilgin, I., Karakuyu, Y. and Ay, Y. (2015). The Effects of Project Based Learning on Undergraduate Students’ Achievement and Self-Efficacy Beliefs Towards Science Teaching. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 11(3), 469-477.

Long, C. Ming, Z., and & Chen, L. (2013). The study of student motivation on English learning in junior middle school-a case study of no.5 middle school in Gejiu. English Language Teaching, 1(9), 136-145.