การศึกษามโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการคิดอุปนัยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาวิทยาศาสตร์

Main Article Content

กาญจนา ท้าวน้อย
เนตรชนก จันทร์สว่าง
สมสงวน ปัสสาโก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอุปนัยแบบผสมผสาน จำนวน 6 แผนการเรียนรู้ รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นแบบสอบชนิดเลือกตอบ 2 ระดับ  จำนวน 12 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาผลการศึกษามโนทัศน์หลังได้รับโดยใช้กระบวนการคิดอุปนัยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานพบว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้นักเรียนแต่ละคนในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีระดับความไม่เข้าใจและมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน แต่หลังจากการเรียนรู้ในวงจรปฏิบัติที่ 2 และ 3 ผู้วิจัยได้้นําปัญหาที่พบมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อวางแผนจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม จึงทำให้นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ที่ถูกสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและมีความเข้าใจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนลดลงและพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal Blended Learning in a New Normal. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 15(1), 29-43.

ชมนา จักรอารี. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในรายวิชาชีววิทยาเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต ปัตตานี, 30(2), 151-165.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์น.

ปรียานุช ช่องวารินทร์. (2565). การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงจันทร์และระบบสุริยะและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตน์จาณี อรัญเพิ่ม, พงษ์พันธุ์ ศรีต้นวงศ์, ภากร ไทยพิทักษ์ และ พัดตาวัน นาใจแก้ว. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยเสริมด้วยวิธีการแก้ปัญหาของ Wheatley เพื่อเสริมสร้างมโนมติเสียงและความสามารถใน การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการนำตนเองในการเรียนรู้ต่างกัน. วารสารหน่วยวิจัย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 9(2), 132-152.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562 ). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564. จากhttps://pisathailand. ipst.ac.

สุดารัตน์ เกียรติจรุงพันธ์. (2560). การศึกษามโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยาเพิ่มเติมเรื่องความ หลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 224-234.

เสริมศรี ลักษณศิริ. (2562). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูสวนดุสิต.

เสาวนีย์ สังฆะขี และวรรณจรีย์ มังสิงห์. (2555). ความเข้าใจมโน มติทางวิทยาศาสตร์เรื่องบรรยากาศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภายหลังการใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติของ Hewson & Hewson. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 6(2), 188-190.

Allen. I. E. and Seaman. J. (2007). Growing by Degrees: Online education in the United States, The Sloan Consortium. DOI: http://www.sloanc.org

Hewson, Mariana G. and Hewson, P. W. (2003). Effect of instruction using students’ prior knowledge and Conceptual change strategies on science learning. Journal of Research Teaching, 25(8), 35-43.

Klausmeier, Herbert J. (1994).Concept learning and Concept Teaching. Educational Psychologist, 27(3), 267 -286.

Sampson, V. and Grooms, J. (2009). Promoting and Scientific Argumentation in the Classroom the Evaluate Alternatives Instructional Mode. The Science Scope, 33(1), 67-73.