การพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) รายวิชา ส 23102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนเชิงรุกตามแนวคิดของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action) ร่วมกับการใช้การ์ดเกม (Card Game)

Main Article Content

ธีรภัทร์ ศิริรส
มณฑา ชุ่มสุคนธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) รายวิชา ส23102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนเชิงรุกตามแนวคิดของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action)  ร่วมกับการใช้การ์ดเกม (Card Game) ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป  2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ส23102 สังคมศึกษา โดยใช้วิธีการสอนเชิงรุกตามแนวคิดของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action) ร่วมกับการใช้การ์ดเกม (Card Game) ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน    9 แผน 18 ชั่วโมง แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) ท้ายวงจร แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร แบบวัดการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) รายวิชา ส 23102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธี การสอนเชิงรุกตามแนวคิดของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action)  ร่วมกับการใช้การ์ดเกม (Card Game) พบว่า มีจำนวนนักเรียนร้อยละ 71.43 มีผลคะแนนการรู้เรื่องทางภูมิศาสตร์ (Geo-literacy คิดเป็นร้อยละ 74.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ส23102  โดยใช้วิธีการสอนเชิงรุกตามแนวคิดของจังหวัดอะคิตะ (Akita Action) ร่วมกับการใช้การ์ดเกม (Card Game) มีนักเรียนร้อยละ 74.29 มีผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 76.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทรา. (2561). การเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ Geo-literacy Learning for our planet ถอดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามแนวคิดอคิตะ (AKITA Action).วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ที่มา https://so02.tcithaijo.org/index.php/Etcedumsujournal/article/view/242305

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2562). ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในประเทศไทย.วารสาร บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์, 13(1) มกราคม-เมษายน 2562. ที่มา https://so02.tcithaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/186652

เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ.ที่มา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ssr/article /view/246548

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุชาติ แสนพิช และคณะ. (2560). การพัฒนาการ์ดเกมมวยไทย เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย. วารสาร สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(1), เดือนมกราคม-เมษายน 2560.

สุภาพร พิมพ์บุษผา. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยประยุกต์ใช้วิธีการสอนเชิงรุกของจังหวัดอคิตะ (Akita Action). วารสารออนไลน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ที่มาhttp://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2147.ru

Akita Prefectural Board Education. (2018). Education in Akita. Retrieved May 6,2021 from https://www. pref.akita.lg.jp

Arnel F. Gutierrez. (2014). Development and Effectiveness of an Educational Card Game as Supplementary Material in Understanding Selected Topics in Biology. Life Sciences Education, Vol. 13, 76-82, Spring 2014 Retrieved March 26,2021 from https:// www. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3940466/

Daniel C. Edelson. (2014). Geo Learning Thoughts on Geo graphy and Education. Retrieved February 5, 2021 from https://www.gisday.com /content/dam/ esrisites/en-us/about/events/gis-day/geolearning.pdf?rmedium=gisday-www

Sean M. Barclay, Meghan N. Jeffres and Ragini Bhakta. (2011). INSTRUCTIONAL DESIGN AND ASSESSMENT Educational Card Games to Teach Pharmacotherapeutics in Advanced Pharmacy Practice Experience. American Journal of Phar- maceutical Education 2011. Retrieved March 26, 2021. from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21519422/