การต่อรองความหมายและการบริโภคสัญญะปีชงในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการต่อรองความหมายและการบริโภคสัญญะปีชงในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์
ในการศึกษาเพื่อศึกษาการต่อรองความหมายปีชงในสังคมไทยและเพื่อวิเคราะห์การบริโภคสัญญะปีชง
ในสังคมไทย รูปแบบของงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งใช้เวลาในการเก็บข้อมูลและประมวลผลรวมทั้งสิ้น 3เดือน โดยผู้ให้ข้อมูลหลักแบ่งออกเป็น 4กลุ่ม รวมทั้งสิ้น11คน ได้แก่ ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์จีน และผู้ที่มีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง (เชื้อสายจีน เชื้อสายไทย-จีน และเชื้อสายไทย) นอกเหนือไปจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่สืบค้นได้จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
จากการวิจัยพบว่า การต่อรองความหมายปีชงในสังคมไทยนั้น มีการต่อรองความหมายทั้งความเชื่อเรื่อยไปจนถึงพิธีกรรมการแก้ชง ผ่านการสื่อสารผ่านสื่อ ผู้นำทางความคิดและพิธีกรรมแก้ชงเอง โดยปรากฏการพยายามขยายฐานความเชื่อเกี่ยวกับปีชง เสริมความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ และอำนวยความสะดวกให้กับการแก้ชง ส่วนการบริโภคสัญญะปีชงในสังคมไทยนั้น จากความเชื่อดั้งเดิม สู่ความเชื่อในวงกว้าง จึงทำให้ไปเกี่ยวพันกับเชิงพาณิชย์มากขึ้น มีทั้งสินค้าและบริการที่สื่อสารว่าช่วยเสริมความเป็นสิริมงคล ทั้งนี้แม้จะช่วยให้การแก้ชงดำรงสืบทอดต่อไปได้ แต่หากไม่ดำเนินชีวิตตามแก่นแท้เดิมของปีชงที่เน้นการมีสติ รวมทั้งหากผู้รับสารไม่รู้เท่าทันการสื่อสารอาจถูกแสวงหาผลกำไรจากองค์กรธุรกิจได้
Article Details
ทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปพิมพ์เผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน
References
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฏีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา.
กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2544). การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์: แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย.
กรุงเทพฯ : แบรนด์เอจ.
จ. กฤษณมูรติ. (2560). กระจกเงาแห่งความสัมพันธ์ สภาวะรับรู้อันไร้ทางเลือก 2. แปลโดย หิ่งห้อย ณ ภูเขา. นนทบุรี : ภาพพิมพ์.
จูเลียน ฮักซ์ลีย์, เจ. โบรโนว์สกี, เจอรัลด์ แบร์รี และ เจมส์ ฟิชเชอร์. (2549). วิวัฒนาการแห่งความคิด:
ภาคมนุษย์และมนุษยชาติ. แปลโดย จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี. กรุงเทพฯ : สามลดา.
เดลินิวส์. "บิ๊กตู่"เตือนคนไทยอย่าให้ใครมาทำแตกแยก. (25 กุมภาพันธ์ 2561) สืบค้นจาก
https://www.dailynews.co.th/politics/627730.
บวรสรรค์ เจี่ยดำรง. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การรู้เท่าทันสื่อ. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ภารดี มหาขันธ์. (2560). ความเชื่อเรื่องปีชงของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข
จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(48), 129-150.
วงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2554). การโฆษณาข้ามวัฒนธรรม. ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วันพรรษา อภิรัฐนานนท์. "แก้ชง" มีเฉพาะประเทศไทย?. (25 กุมภาพันธ์ 2561) สืบค้นจาก
https://www.posttoday.com/politic/report/347429.
สมสุข หินวิมาน. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรพงษ์ โสธนะเสียร. (2557). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ระเบียงทอง.
กานต์ชนก สุนทร, ผู้ที่มีเชื้อสายไทย-จีน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 21 กุมภาพันธ์ 2561.
เฌอฟ้า ตรีเดชี, ผู้ที่มีเชื้อสายไทย ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 18 กุมภาพันธ์ 2561.
ธนัญชกร กาฬวัจนะ, ผู้ที่มีเชื้อสายไทย ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 22 กุมภาพันธ์ 2561.
ธีรภัทร์ ทองพิทักษ์สกุล, ผู้ที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2561
ปัญจพล บุญมณีชัยกุล, คณะกรรมการวัดเขตร์นาบุญญารามผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีน. สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2561.
พลอย พิมพ์ศิริ, ผู้ที่มีเชื้อสายไทย ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 20 กุมภาพันธ์ 2561.
มณเฑียร พึ่งพระรัตนตรัย, ผู้ที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2561.
รมณัฏฐ์ สุริยมิตรเสถียร, ผู้ที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 20 กุมภาพันธ์ 2561.
อภิญญา จันทร์วังโป่ง, ผู้ที่มีเชื้อสายไทย-จีน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 21 กุมภาพันธ์ 2561.
อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค, ผู้ที่มีเชื้อสายไทย-จีน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องปีชงและเคยไปแก้ชง. สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2561.
ฮ.ศุภวุฒิ จันทสาโร, นักเขียนผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีน. สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2561.