การวิเคราะห์จำแนกประเภทและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ สำหรับทำนายการตัดสินใจเลือกองค์กรภาครัฐในการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Main Article Content

พิชญาพร พีรพันธุ์
ประสพชัย พสุนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกองค์กรภาครัฐในการทำงานหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยการเปรียบเทียบผลการจำแนกหรือทำนายการตัดสินใจด้วยการวิเคราะห์จำแนกประเภท และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 212 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย สถิติค่าความถี่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์จำแนกประเภทและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกองค์กรภาครัฐในการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล และตัวแปรการคาดหวังจากครอบครัวที่นำมาเป็นตัวแปรร่วมในการวิเคราะห์ เป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกองค์กรภาครัฐในการทำงานหลังสำเร็จการศึกษาเช่นเดียวกันทั้ง 2 วิธี และการเปรียบเทียบผลการจำแนกกลุ่มของตัวแบบทั้ง 2 รูปแบบ พบว่า ตัวแบบการวิเคราะห์ด้วยการจำแนกด้วยการวิเคราะห์จำแนกประเภท สามารถจำแนกได้ถูกต้อง  ร้อยละ 73.1 ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ สามารถจำแนกได้ถูกต้องร้อยละ 74.5


     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งพร ทองใบ. (2553). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ ในเอกสารการสอนชุดวิชาองค์การและการจัดการ

และการจัดการเชิงกลยุทธ์ หน่วยที่ 9. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชณัฎฎา อมรวงศ์ไพบูลย์ และ เชี่ยวชาญ อาศุวัฒนกูล. (2561). การตัดสินใจเข้ารับราชการของนิสิตชั้นปีที่ 4

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 178-187.

พรทวี เถื่อนคำแสน และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานระดับ ปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1),1-23.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตว์.

ยุทธ ไกรวรรณ์. (2555). หลักการและการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์สำหรับการวิจัย.

วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 4(1),1-12.

สมประสงค์ เสนารัตน์. (2553). การจำแนกกลุ่มด้วยเทคนิค Discriminant Analysis. (4 ธันวาคม 2561).

สืบค้นจาก https://rci2010.files.wordpress.com/.

อรอุมา ทองหล่อ สุภาวดี มานะไตรนนท์ และ อนันท์ เชาว์เครือ. (2555). การวิเคราะห์จำแนกประเภทกับการวิเคราะห์

ถดถอยแบบโลจิสติกส์ทวิ สำหรับทำนายปริมาณน้ำนมของฟาร์มโคนม. KKU Science Journal, 40(4), 1195-1204.

Mberia A. & Midigo R. (2018). Understanding Career Choice Dilemma in Kenya : Issues of Informed

Choices and Course Availability. Journal of Education and Practice, 9(9), 35-40.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Halperin, M., Blackwelder, W. E. and Verter, J. I. (1971). Estimation of the multivariate logistic risk function : A comparison of the discriminant function and maximum likelihood approa -ches. J Chron Dis, 24, 125-158.

Hewitt, J. (2010). Factors influencing career choice. (4 December 2018) Retrieved from www.- ehow.com.

Lent, R. W., Brown, S. D., & Hackett, G. (1994). Toward a unifying social cognitive theory of career

and academic interest, choice, and performance [Monograph]. Journal of Vocational Behavior, 45, 79-122.

Montgomery, M. E., White, M. E. and Martin, S. W. (1987). A comparison of Discriminant Analysis and Logistic Regression for the Prediction of Coliform Mastitis in Dairy Cows. Can J Vet Res, 51, 495-498.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.

O' Glenn, Stahl .(1962) . Public Personnel Administration. New York : Harper and Row.

Omari, S. G. (2013). Strategic Factors That Influence Students’ Career Choice In Kenya Universities : A Study of United States International University. Chandaria School Of Business United States International University, Africa.

Ulrich D. and Dulebohn James H. (2015). Are We There Yet? What’s Next For Hr?.

Human Resource Management Review, 25, 188–204.

Yamane, T. (1976). Statistics : An introductory analysis (2 nd ed.). New York : Harper and Row.