ความเป็นกลางของอาเซียนและรัฐไทยภายใต้สภาวะแห่งสงคราม

Main Article Content

ดลนภา นันทวโรไพร

บทคัดย่อ

ความเป็นกลางของรัฐในภาวะสงครามตามหลักสากล มีแนวคิดและหลักการสำคัญ 2 ประการ  คือ ประการแรก รัฐเป็นกลางต้องไม่เข้าร่วมเป็นฝ่ายในคู่สงครามและไม่ลำเอียงในการปฏิบัติต่อรัฐคู่สงคราม และ ประการที่สอง รัฐเป็นกลางจะต้องไม่ถูกละเมิดสิทธิและไม่ถูกละเมิดอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนซึ่งเป็นหลักการอันไม่อาจก้าวล่วงได้  ทั้งนี้ความเป็นกลางของรัฐในภาวะสงครามจึงเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐที่เป็นกลางเหล่านั้นเอง อย่างไรก็ดี  นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน รัฐอาเซียนและรัฐไทยยังไม่มีมาตรการความเป็นกลางตามหลักสากลอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่ารัฐอาเซียนและรัฐไทยจะได้มีการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และการวางตัวเป็นกลาง Zone of Peace, Freedom and Neutrality Declaration (ZOPFAN) ในปี ค.ศ. 1967 แล้วก็ตาม แต่การลงนามดังกล่าวเป็นเพียงแต่ความร่วมกันกันอย่างหลวมๆ เท่านั้น ยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมชัดเจนอันจะนำไปสู่ความเป็นกลางตามหลักสากลได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญอาจมาจากปัจจัยภายในและภายนอกภูมิภาค  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาความร่วมมือของรัฐอาเซียนอย่างจริงจังเพื่อบรรลุข้อตกลงการวางตัวเป็นกลางตามหลักสากลดังกล่าวได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรันต์ ธนูเทพ. (2555). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิญญา เลื่อนฉวี. (2562). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง. กรุงเทพฯ : นิติธรรม.

สมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร. (2554). การสร้างประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนา จำกัด.

สมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร. (2560). กฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้กันในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนา จำกัด.

ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2558). สถาบันพระปกเกล้า ปฏิญญาว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และการวางตัวเป็นกลาง. (25 มกราคม 2563) สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php.

Martin Dixon, Robert Mc Corquodale and Sarah Williams. (2016). International Law. United Kingdom : Oxford University Press.

Terry D, Gill And Dieter Fleck. (2015). The Handbook of The International Law of Military Operations. United Kingdom : Oxford University Press.

Lwando Xaso. (2020). US airstrike in Iraq : International law, self defence and the problem of conjecture.

(10 March, 2020) Retrieved from https://www.dailymaverick.co.za/ opinionista/2020-01-07-us-airstrike-in-iran-international-law-self-defence-and-the-problem-of-conjecture/.

Robert Jervis. (2019). Was the Cold War a Security Dilemma. (15 March, 2020) Retrieved from

https://www.mitpressjournals.org/doi/abs/10.1162/15203970151032146.

Thomas Fischer, Juhana Aunesluoma and Aryo Makko. (2019). Neutrality and Nonalignment in World Politics during the Cold War. (10 March, 2020) Retrieved from https://helda. helsinki.fi//bitstream /handle/10138/232330/Neutrality and Nonalignment in World Politics during the Cold War.pdf.

Greg Grandin. (2015). Henry Kissinger's genocidal legacy : Vietnam, Cambodia and the birth of American militarism. (12 March, 2020) Retrieved from https://www.salon.com

/2015/11/10/ henry_kissingers_genocidal_legacy_partner/,November.