อิทธิพลส่งผ่านของการให้คำแนะนำปรึกษาที่เชื่อมโยงแรงบันดาลใจ ความสามารถทางนวัตกรรมและความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการไปสู่ความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของสมาชิกศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาความสำคัญด้านการให้คำแนะนำปรึกษา แรงบันดาลใจ ความสามารถทางนวัตกรรม ความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ (2) ศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของการให้คำแนะนำปรึกษาที่เชื่อมโยงแรงบันดาลใจ ความสามารถทางนวัตกรรมและความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการไปสู่ความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการและ (3) ศึกษาองค์ประกอบของความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของรัฐบาล 393 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า การให้คำแนะนำปรึกษามีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับแรก โดยที่ความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ ความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการและแรงบันดาลใจมีความสำคัญมากที่สุดเช่นกัน ยกเว้นความสามารถทางนวัตกรรมมีความสำคัญระดับมาก โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง²=161.85 df=140 p-value=0.09884 RMSEA=0.016 RMR=.011 NFI=1 NNFI=1 GFI=.98 AGFI=.95 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยการให้คำแนะนำปรึกษามีอิทธิพลส่งผ่านต่อแรงบันดาลใจมากที่สุด รองลงมา คือ การให้คำแนะนำปรึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรม แรงบันดาลใจมีอิทธิพลทางตรงต่อความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ ความสามารถทางนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ ผลการศึกษาองค์ประกอบของความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการขึ้นอยู่กับการให้คำแนะนำปรึกษาผ่านแรงบันดาลใจและความสามารถทางนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ
Article Details
ทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปพิมพ์เผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานวิจัยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). เชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาระดับชาติ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 15 : การสร้างสังคมผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Andersen, T. & Hougaard K. F. (2017). Taking the future into their own hands-youth work and entrepreneurial learning. European Commission, Luxembourg : Publications Office of the European.
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behaviors. Organizational Behavior and Human Decision Process, 50(2), 179-211.
Braunerhjelm, P. (2014). 20 years of entrepreneurship research, Swedish Entrepreneurship Forum 2014. Sweden : TMG Tabergs Press.
Burks, J. S., Jensen, T. & Kagan E. (2017). Mentoring in startup ecosystems. Social Sciences Research Network Electronic Paper Collection University of Michigan, United States.
Coduras, A., Manuel, Alvarez, J. M. S. & Ruiz, J. (2016). Measuring readiness for entrepreneurship : An information tool proposal. Journal of Innovation & Knowledge, 1(2), 99-108.
Daramasetiawan, N. K. (2018). Readiness and Entrepreneurial Self-Efficacy Actors of SMEs Snake-Fruit processed Products in the Conduct of e-Business. (December 24, 2019) Retrieved from https://doi.org/10.2991/aicmar-18.2019.1.
Ekpoh, U. I. & Ukot, S. I. (2019). Mentoring Practices and Lecturers’ Teaching Effectiveness in Universities. Journal of Education and Human Development, 8(4), 131-139.
Eller, L. S., Lev, E. L. & Feurer, A. (2014). Key components of an effective mentoring relationship : A qualitative study. Nurse Education Today, 34(5), 815–820.
Elshaw, J., Fass, D., & Mauntel, B. (2018). Cognitive mentorship : protégé behavior as a mediator to performance. Mentoring & Tutoring : Partnership in Learning, 26 (4), 358-376.
Etienne, St., J. & Cynthia, M. (2015). Developing Attitudes toward an Entrepreneurial Career through Mentoring : The Mediating Role of Entrepreneurial Self-Efficacy. Journal of Career Development, 42 (4), 325-338.
Gibb, A. A. & Ritchie, J. R. (1982). Understanding the process of starting small businesses. European Small Business Journal, 1(1), 26-45.
Gozukara, I. & Kolakoglu, N. (2015). Enhancing entrepreneurial intention and innovativeness of university students : the mediating role of entrepreneurial alertness. International Business Research, 9(2), 34-45.
Holienka, M. (2014). Youth entrepreneurship in slovakia : a GEM based perspective. Comenius Management Review, 8(2), 41-50.
Johannisson, B. (2014). The practice approach and interactive research in entrepreneurship and small-scale venturing. In Alan Carsrud and MalinBrannback (eds). United Kingdom : Edward Elgar Publishing.
Kallas, E. (2019). Environment-Readiness Entrepreneurship Intention Model : The Case of Estonians and the Russian-Speaking Minority in Estonia. SAGE Open, 9(1), 1-15.
Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling : A Researcher’s Guide (2nded.). CA : Sage Publications.
Kram, K. E. (1983). Phases of the mentor relationship. Academy of Management Journal, 26(4), 608-625.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. New York : The Science Press.
Malebana, M. J. (2014). The effect of knowledge of entrepreneurial support on entrepreneurial intention. Mediterranean Journal of Social Sciences, 5(20), 1020-1028.
Nabi, G., Walmsley, A. & Akhtar, I. (2019). Mentoring functions and entrepreneur development in the early years of university. Studies in Higher Education, 46(6), 1020-1028.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd Ed)., New York : Mc Graw-Hill.
Olugbola, S. A. (2017). Exploring entrepreneurial readiness of youth and startup success components : entrepreneurship training as a moderator. Journal of Innovation & Knowledge, 2(3), 155–171.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy : Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York : Free Press.
Schumpeter, J. A. (1934). The theory of economic development. United States : Harvard University Press.
Shapero, A. & Sokol, L. (1982). The social dimensions of entrepreneurship. United States : Prentice-Hall.
Stolz, L. E. (2015). Inspiration-an analysis of students' conception of inspiration in art and design. Faculty of Art and Design University of Lapland, Finland.
Wartiovaaraa, M., Lahtia, T. & Wincent, J. (2018). The role of inspiration in entrepreneurship : The role of inspiration in entrepreneurship : theory and the future research. (February 15, 2563) Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science /article/abs/pii/ S0148296318305915?via%3Dihub.