พฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์กับข้อมูลทั่วไปของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต และ 4) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 424 คน พบว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อ Facebook สื่อโฆษณามีส่วนตัดสินใจซื้อ สั่งซื้อเสื้อผ้า/เครื่องประดับ โอกาสในการซื้อสินค้าจากส่วนลด ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง 501 - 1,000 บาท โอนผ่านบัญชีธนาคาร และปัญหาในการสั่งซื้อ คือ การส่งล่าช้า ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ และด้านบุคคล ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์กับข้อมูลทั่วไปของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต พบว่า ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตที่มีอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนในจังหวัดภูเก็ตที่มีเพศ และอายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปพิมพ์เผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชานนท์ จันทวงศ์. (2557). การซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้มีรายได้ในจังหวัดสงขลา. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.
ชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.
ณัฐกานต์ กองแก้ม. (2559). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ธันยาภรณ์ ครองยุติ. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตจตุจักร กรุงเทพฯ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
บวรลักษณ์ เสนาะคำ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 42-54.
ปรารถนา พะสิม และ วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค. งานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 8 มิถุนายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพฯ, 345 – 360.
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พิศุทธิ์ อุปถัมภ์. (2556). ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
พิษณุ จงสถิตวัฒนา. (2542). การบริหารการตลาด การวิเคราะห์กลยุทธ์ และการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรัญญา โพธิ์ไพรทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิยะดา ฐิติมัชฌิมา. (2553). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : แนวโน้มปรากฎการณ์และจริยธรรม (Social network : Trend Phenomena, and Ethics). วารสารนักบริหาร, 30(4), 150-156.
วีกิจจ์ ศุภโกวิท. (2555). พฤติกรรมของคนวัยทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการซื้อสินค้าบนเฟซบุ๊ก. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ยงพลเทรดดิ้ง.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2561). รายงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (12 กุมภาพันธ์ 2564) สืบค้นจาก
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิก. (2563). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและใช้บริการทางออนไลน์ของคนไทย. (16 พฤษภาคม 2563) สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/.
เอมิกา เหมมินทร์ และ ปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2557). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 9-10(16-17), 120-140.