กลยุทธ์การตลาดสีเขียวขององค์กรธุรกิจในเขตนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

คุณาพร โฉมจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการตลาดสีเขียวขององค์กรธุรกิจในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การตลาดสีเขียวขององค์กรธุรกิจในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี โดยตั้งสมมติฐานของการวิจัยไว้ว่า ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดสีเขียว และปัจจัยด้านการบริหารจัดการ มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การตลาดสีเขียวขององค์กรธุรกิจ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่ายขาย หรือผู้แทนขององค์กรธุรกิจภาคเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ บริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด จังหวัดปทุมธานี จำนวน 219 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีถดถอยพหุคูณ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการการตลาดสีเขียวขององค์กรธุรกิจ ในมิติด้านการสื่อสารการตลาด กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับตัวแปร บรรจุภัณฑ์สีเขียวมากที่สุด รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์สีเขียว และผู้บริโภคสีเขียว สำหรับมิติด้านการบริหารจัดการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับตัวแปร นวัตกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ ส่วนครองตลาด ความรับผิดชอบต่อสังคม และการสนับสนุนจากภาครัฐ ตามลำดับ ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า ตัวแปรบรรจุภัณฑ์สีเขียว ผลิตภัณฑ์สีเขียว นวัตกรรม ส่วนครองตลาด และความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับกลยุทธ์การตลาดสีเขียวขององค์กรธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2560). เกณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียว. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

คัทธลี เจียมสมบูรณ์เลิศ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2565). กลยุทธ์การตลาดสีเขียวสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(1), 286-306.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุรีริยาสาสน์การพิมพ์.

เปรมศักดิ์ อาษากิจ และ หฤทัย อาษากิจ. (2562). กลยุทธ์การตลาดสีเขียวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 7(2), 7 – 17.

พรชัย ศักดานุวัฒน์วงศ์ วรนารถ แสงมณี ชนานันต์ สมาหิโต และ ธีรพงษ์ ปิณจีเสคิกุล. (2561). บรรษัทบริบาล (ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร) ทำการกุศลเพื่อภาพลักษณ์องค์กรและตอบสนองประเด็นสังคม. วารสารการบริหารและการจัดการ, 8(2), 236 – 237.

วรรณภา ฐิติธนานนท์ และ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์. (2560). รูปแบบการตลาดสีเขียวของอุตสาหกรรมอาหารในกลุ่มเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 275-283.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). กระบวนทัศน์ใหม่สู่การเติบโตสีเขียว. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

สุพัตรา กำแหง และคณะ. (2564). กลยุทธ์การตลาดสีเขียวเชิงสร้างสรรค์และการสร้างคุณค่าร่วมสู่ความสำเร็จในธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(1), 78-98.

American Marketing Association. (2011). Definition of Green Marketing. (July 9, 2020) Retrieved from http://dictionary.babylon.com/Green_Marketing.

Berry, B. (2007). Going Green : The Future of the Retail Food Industry, Agri-Food Trade Service. (April 22, 2020 ) Retrieved from www.ats.agr.gc.ca.

Chen, Y.S. (2010). The Drivers of Green Brand Equity : Green Brand Image, Green Satisfaction, and Green Trust. Journal of Business Ethics, 93(2), 307-319.

Dahlstrom, R. (2011). Green Marketing Management. (4th ed). Canada : Nelson Education, Ltd.

Grant, J. (2007). The Green Marketing Manifesto, Chichester. England : John Wiley & Sons.

Olson, E.G. (2009). Business as Environmental Steward : The Growth of Greening. Journal of Business Strategy, 30 (5), 4-13.

Schutt, R.K. & Engel, R.J. (2005). The Practice of Research in Social Work. New York : SAGE Publications, Inc.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York : Harper & Row.