การศึกษาคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์นิคม ท่าแซะ จำกัด 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้าน เพศ อายุ อาชีพ รายได้ สถานภาพ ระดับการศึกษา และลักษณะที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 354 คน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะข้อมูลและสถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี จำนวน 123 คน มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 216 คน สถานภาพสมรส จำนวน 297 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท จำนวน 170 คน และมีอาชีพเกษตรกรและชาวสวน จำนวน 281 คน ลักษณะที่อยู่อาศัยมีบ้านเป็นของตัวเอง จำนวน 314 คน 2) ข้อมูลเกี่ยวกับระดับคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ พบว่าคุณภาพด้านชีวิตครอบครัวมีค่ามากที่สุด โดยมีค่า ( = 3.97, S.D. = 0.64) รองลงมาคือคุณภาพชีวิตด้านสุภาพ (
= 3.39, S.D. = 0.63) คุณภาพชีวิตด้านความมั่งคงทางเศรษฐกิจ (
= 3.16, S.D. = 0.61) คุณภาพชีวิตด้านชีวิตในชุมชน (
= 3.25, S.D. = 0.64) และน้อยที่สุดคือคุณภาพชีวิตด้านชีวิตการทำงาน (
= 2.82, S.D. = 0.67) 3) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด พบว่า ความแตกต่าง ระหว่าง เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ ลักษณะที่อยู่อาศัย ที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายได้ต่อเดือนที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน และการทดสอบความแตกต่างที่ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปพิมพ์เผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2556). วาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์ . โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุสุมา โกศล. (2555). คุณภาพชีวิตของเกษตรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย : ศึกษากรณี จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิราภรณ์ เกษร. (2560, หน้าบทคัดย่อ). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธนาคารกรุงไทย. (2559,21 พฤศจิกายน). เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน. htt://www.ktb.co.th/ktb/economy.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ที่11 ตําบลท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง. (สารนิพนธ์สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคมไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรี หล้าแหล่ง. (2556). การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้. คลังข้อมุลการวิจัยการเกษตรไทย.
http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/patcharee_lalang_2556/fulltext.pdf.
พัทยา สายหู. (2556). คุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์(รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
พีรดาว สุจริตพันธ์. (2565). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรภาคใต้: ชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสหวิทยาการวิจัย,11(2), 189-198.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต เฉลิมพล แจ่มจันทร์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และจรัมพร โห้ลำยอง. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
สหกรณ์นิคมท่าแซะ. (2559,27 พฤศจิกายน). ธุรกิจของสหกรณ์. http://www.thasae-coop.com/thasae.
สิริภักดิ์ ศรีศิลารักษ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลตอคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลวัดชะลออำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (วิทยานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559,8 ธันวาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. https:// www.nesdb.go.th/ewt_dl_l ink. php?nid.
องค์การอนามัยโลก. (2561,23 พฤศจิกายน). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต. www.un.or.th › world-health-organization-who.
Flanagan, J. (1978). A research approach to improving our quality of life. American Psychologist, 33(5), 126-147.
Gloria L Krahn , Willi Horner-Johnson, Trevor A Hall, Gale H Roid, Elena M Andresen, Glenn T Fujiura, Margaret A Nosek, Bradley J Cardinal, Charles E Drum, Rie Suzuki, Jana J Peterson. (2014). Development and psychometric assessment of the function-neutral health-related quality of life measure. American journal of physical medicine & rehabilitation, 93(1), 56-74.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities . Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.