ภาพลักษณ์และทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเยือนซ้ำประเทศไทย

Main Article Content

เตือนใจ ศรีชะฎา
ศิริพา นันทกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาภาพลักษณ์และทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เป็นเรื่องสำคัญเพื่อการวางแผนทางด้านการท่องเที่ยวทั้งในระดับจังหวัดและในระดับประเทศ แต่ทว่างานวิจัยเรื่อง ภาพลักษณ์และทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ยังมีการศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังไม่มากนักอาจทำให้ขาดโอกาสในการส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ดังนั้นผู้วิจัยได้ศึกษาถึงวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการรับรู้ภาพลักษณ์และทัศนคติที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และเคยรับประทานอาหารไทย หรือเคยได้มีโอกาสร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับอาหารไทย จำนวน 400 คน  ผลการวิจัยพบว่า ท้องถิ่น มีการรับรู้ภาพลักษณ์ต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย ด้านการลิ้มลองอาหารท้องถิ่น มีความคิดเห็นด้านทัศนคติ มากที่สุดในด้านอาหารยอดนิยม และนักท่องเที่ยวต้องการที่จะกลับมาเยือนซ้ำในการท่องเที่ยวเชิงอาหารอีกครั้ง และทั้งนี้ภาพลักษณ์และทัศนคติยังส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำประเทศไทย อีกครั้งของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชณัท แสนทวี. (2562). แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว

เชิงอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 59-70.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560, 1 November). การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. http://www.jpp.moi.go.th/files/MOTS.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 1 November). สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปี พ.ศ.2566. https://www.mots.go.th/news/category/411.

ณัฐชา มังกรแก้ว นัทศิมา เจริญกุล นิลักษนาถ มงคลแก้วสกุล พชระ แก้วคง พิรัชญา นิลกําแหง เมธวี ตระกูล ศุภฤกษ์ วรินดา สุขเหม และไววิทย์ แซ่อั้ง. (2559). การศึกษาทัศนคติของประชาชนชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารในบริบทของร้านอาหารริมทางในเขตรุงเทพมหานคร, (รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). DSpace. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28382.

สุปรียา ภูผาลา และ จารุวรรณ แดงบุบผา. (2565). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 286-304.

พรรณี สวนเพลง และ พรเทพ ลี่ทองอิน. (2559). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว, 4(2), 38-45.

Cohen & Uphoff. (1980). Effective Behavior in Organizations. Richard D. Irwin Inc.

Cronbach Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. Harper and Row.

Hsu, F. C., and Scott, N. (2020). Food experience, place attachment, destination image and the role of food-related personality traits. Journal of Hospitality and Tourism Management, 44(3), 79-87.

Smith, M., MacLeod, N. & Robertson, M. H. (2010). Key concepts in tourist studies. SAGE.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

United Nations World Tourism Organization. (2023). Global report on food tourism. UNWTo.

Tasci, A. D., & Gartner, W. C. (2007). Destination image and its functional relationships. Journal of

Travel Research, 45(4), 413-425.