การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พีรวิชญ์ คำเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อออนไลน์ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ ดำเนินการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการชุมชน อำเภอสูงเนิน และตัวแทนสำนักงานอุทยานธรณีโคราช จำนวน 12 ท่าน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพสื่อออนไลน์กับนักวิชาการด้านการสื่อสาร และตัวแทนสำนักงานอุทยานธรณีโคราช จำนวน 10 ท่าน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อออนไลน์ ประเภท คลิปวิดีโอ เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกโคราช ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านเนื้อหา 2) องค์ประกอบด้านการผลิต และ 3) องค์ประกอบด้านการสร้างสรรค์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำองค์ประกอบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและผลิตสื่อออนไลน์ ประเภท คลิปวิดีโอ การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกโคราช อำเภอสูงเนิน จำนวน 5 คลิปวิดีโอ ได้แก่ วัดธรรมจักรเสมาราม ปราสาทเมืองแขกและปราสาทโนนกู่ แหล่งเรียนรู้ศรีจนาศะโรงเรียนสูงเนิน วัดปรางค์เมืองเก่า และแหล่งหินตัดบ้านส้มกกงาม เนื่องจากเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของอำเภอสูงเนินและเป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลของอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อออนไลน์ ประเภท คลิปวิดีโอ เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกโคราช พบว่า ภาพรวมของคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์อุทยานธรณีโลกโคราช มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี (  = 4.33, S.D = 0.54 ) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านเนื้อหาของสื่อออนไลน์ มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี (  = 4.48, S.D = 0.55) ด้านการผลิตสื่อออนไลน์ มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี (  = 4.32, S.D = 0.54) และด้านประโยชน์ของสื่อออนไลน์ มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี (  = 4.2, S.D = 0.53) ตามลำดับ ซึ่งคลิปวิดีโอที่จัดทำขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับการประชาสัมพันธ์  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Atthawutthichai, S., Phun-iat, S., and Wongrerkdee, C. (2024). Development of Online Marketing

Communication Formats to Promote Tourism in the Mae Sot Border Special Economic Zone, Tak Province. Journal of Educational Innovation and Research, 8(1), 243-262.

Balakrishnan, B., Dahnil, M. and Yi, W. (2014). The Impact of Social Media Marketing Medium Toward Purchase Intention and Brand Loyalty Among Generation Y. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 148(2014), 177-185.

Chaiyachate, A., Phakdeeying, R. and Puntavungkool, J. (2021).The Development of Electronic

Public Relations Media for Religious Tourism in Khokaen Province. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 7 (1),120-129.

Charoenchotitham, A. (2019). Marketing communication tools: Public relations in Teaching documents for the course on Principles of Marketing Communication. Sukhothai Thammathirat Open University Press.

Jintasakul, P. (2019, 1 July). Khorat Geopark to The UNESCO Geopark. Khorat Geopark Office. https://www.khoratgeopark.com/Page.aspx?type=khoratgeopark

Kayode, O. (2014). Marketing Communications. Bookboon.com.

Khamcharoen, P. (2023). Online Marketing Communication Media Development of the Ban Wang Rang Yai Food Processing Community Enterprise to Add Value and Increase the Community Income at Makluea Kao Subdstrict, Sung Noen District, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Applied Informatics and Technology, 6(2), 262-279.

Klaysung, S. (2017). The Development of Video and Online Media to Promote Participatory Marketing and Tourism in Taling Chan, Bangkok. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 12(3), 285-296.

Kleechaya, P. (2018). Principles, Techniques and Methods for Evaluating Public Relations Results. Bangkok : 21 Century Printing House. Center Chulalongkorn University Books.

Kritawanich, A. (2021). Development of Digital Public Relations Media to Promote the King’s Philosophy Tourism of the King’s Philosophy Learning Center Chiang Saen District, Chiang rai Province. Journal of Communication Arts Review, 25(2), 140-152.

Phuksawat, A. (2013). Public Relations for Image Building. Publisher of Chulalongkorn University.

Nakhon Ratchasima Provincial Office. (2022). Nakhon Ratchasima Provincial Development Plan, 5-year period (2023 - 2027). www.nakhonratchasima.go.th/ebook_strategy.

National Economic and Social Office. (2021). National Economic and Social Development Plan No. 13 (2023-2027). www.nesdc.go.th.

Saendoungkhae, J. (2021). Local Identity Communication for Tourism Promotion at Koh Mak, Pak Phayun District, Phatthalung Province. Journal of Science and Social Sciences Burapha University, 29(2), 1-23.

Sukkaew, S., Guntawong, A., & Thongthammachart, T. (2021). Development of public relations media

for Pakanyor woven cloth group, Ban Mo Tha, Mae Usu sub-district, Tha Song Yang District, Tak Province. In Proceedings of the 1st National Academic Conference for Students, Kamphaeng Phet Rajabhat University (pp. 391-399)

Sung Noen Subdistrict Administrative Organization. (2022). Sung Noen Subdistrict Administrative

Organization, Sung Noen District. Nakhon Ratchasima Province.