บทบาทของรัฐ ทุน แรงงานในกระแสโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษา บันทึกความเข้าใจด้านแรงงานระหว่างเกาหลีใต้กับไทย

Main Article Content

ดวงฤทัย สังข์ทอง

Abstract

ในยุคแห่งโลกาภิวัตน์ อำนาจของรัฐถูกท้าทายมากขึ้นทั้งจากพลังภายในและพลังภายนอกประเทศ ทำให้รัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ของตนให้เข้ากับ สภาพของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับยอมรับบทบาทของตัวแสดงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ องค์กรธุรกิจภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรภาคประชาชน จึงเป็นที่มาของการศึกษาและพิจาณาถึงแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐในยุคโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทุนและแรงงาน

จากกรณีศึกษาการทำบันทึกความเข้าใจด้านแรงงานระหว่างเกาหลีใต้กับไทยนับเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อสรุปบทบาทความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และ แรงงานภายใต้กระแสแห่งทุนนิยมโลกาภิวัตน์ว่า รัฐมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อทุนข้ามชาติและทุนท้องถิ่นมากกว่าจะให้ความสำคัญกับแรงงาน ส่วนแรงงานก็มีพลวัตร ของการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีการเคลื่อนย้ายทั้งในส่วนของการนำเข้า และส่งออก เพื่อรับใช้กลุ่มทุนข้ามชาติ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมและกดทับจากรัฐและ ทุนมาโดยตลอด

 

The Role of State, Capitalist and Labour in Globalization : A Case Study of South Korea-Thailand MOU on Labor

In the era of globalization, State authority has been more frequently challenged by the pressures inside and outside the country. As a result, the state needs to adjust their power and authority to fit in the fast-paced changing world’s society. In this regard, the state requires the adaptation to accept the roles of other players, such as, international organizations, Multinational Corporation, private business organizations and non-government organizations (NGOs). These factors necessarily prompt the study on the state’s trend in term of shifting roles in globalization age which affects the entire units in society especially capitalist and labour.

Based on the case study of labour MOU signing between South Korea and Thailand, it reflects the overall scenario of relationship among state, capital and labour under the impact of globalization. Apparently, the state tends to patronize the overseas capitalists rather than put emphasis on labour. On the other hand, the labour has changed their dynamic role through their transfer as the import and export to serve the group of overseas capitalists under the control and suppression by state and capitalist most of the time.

Article Details

Section
Article