ทิศทางการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ในอาเซียน

Main Article Content

สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง

Abstract

การตกลงร่วมกันของกลุ่มประชาคมอาเซียนในการเพิ่มความสามารถในการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศในกลุ่มผนึกกำลังกันเสริมสร้าง ศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อรองรับวิถีชีวิตในสังคมดิจิตอลพร้อม ๆ กับพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ซึ่งหลายประเทศได้วางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีระบบ ด้วยเมื่อประชากรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในทุกระดับการ ศึกษา ย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จากทั่วโลก ซึ่งเป็นการเพิ่มทั้งคุณภาพชีวิตและศักยภาพให้กับประเทศในองค์รวม แต่ผลการสำรวจพบว่ายังมีอุปสรรคด้าน กายภาพของประเทศต่างๆ ทั้งหลายประเทศไม่มีความสามารถพอที่จะสร้างสถานศึกษาไว้รองรับความต้องการของประชากรในพื้นที่ชนบท จึงยังไม่สามารถผลิต ประชากรที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศได้ บทความนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอทิศทางการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ทรัพยากรมนุษย์ของ ประเทศในกลุ่ม ด้วยเป็นวิธีบูรณาการการศึกษาที่ง่ายและลงทุนตํ่า ซึ่งผลสำรวจพบว่ามีหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับอีเลิร์นนิงในระดับต้น และมีความก้าวหน้าใน การดำ เนินงานร่วมกันในการตระเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานในระดับที่น่าพอใจ แต่ยังพบอุปสรรคหลักด้านเงินทุน ทรัพยากรการเรียนรู้ ศักยภาพของ ผู้สอน และทัศนคติด้านเทคโนโลยี ที่อาจเป็นทั้งความท้าทาย และการพิสูจน์ศักยภาพในการแก้ปัญหาร่วมกันโดยอาศัยความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันของอาเซียน

 

Teaching Learning Direction Via e-Learning in ASEAN

The ASEAN leaders agree to promote joint efforts in strengthening the national development strategies in the region by using Information and Communication Technology (ICT) to maintain economic growth. To create ability to complete in the global market as well as to enhance the quality of life, it is mandatory to support human resources to acquire the knowledge of ICT to be able to get the access of services, and resources from all over the world. However, such development could not be achieved in all areas since many countries in the region were not capable to build enough schools to accommodate the needs of their population living in the rural areas, or the needs of the work force groups. e-Learning seemed to be the easiest and cheapest way to transfer knowledge and to create capable human resources in the ASEAN community. This study emphasized on the ASEAN member countries which give priority to prepare the necessary infrastructure throughout the region and high skilled ICT manpower to support a digital society. However, the results could not be achieved in a short time. There were obstacles in several areas, for example : learning resources ; capability of instructor and people’s attitudes towards ICT. These could be treated as challenges, and capability of ASEAN cooperation to find solution under mutual support.

Article Details

Section
Article