ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับภาวะโลกร้อนในประเทศไทยตามสมมติฐาน เส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของ Kuznets

Main Article Content

ธนดล พรพุทธพงศ์

Abstract

ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจถือเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่ง แต่ความเจริญเติบโตนี้ก็ต้องแลกกับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเช่นกันซึ่งมาจากการบริโภคสินค้าและบริการที่ต้องใช้ปัจจัยการผลิตมาจากธรรมชาติ ทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน ดังนั้น จึงมีการศึกษาถึงผลที่เกิดขึ้นกับคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศภายใต้การขยายตัวทางด้านความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แนวคิดเกี่ยวกับสภาวะสิ่งแวดล้อมกับความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่นิยมกันแพร่หลายคือ สมมติฐานสิ่งแวดล้อมของ Kuznets (Environmental Kuznets Curve Hypothesis) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ในครั้งนี้ได้ใช้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวแทนในการศึกษาของภาวะโลกร้อนและเป็นตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระอื่น ๆ โดยผลสรุปที่ได้ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อ หัวมีความสัมพันธ์เป็นไปตามข้อสมมติฐานสิ่งแวดล้อมของ Kuznets ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อภาวะโลกร้อน คือ สัดส่วนของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ต่อเชื้อเพลิงทั้งหมด มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและสัดส่วนเนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทยต่อพื้นที่ทั้งหมดกับพื้นที่เพาะปลูกเกษตรกรรมมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ

 

The Relationship between Economic Growth and Global Warming in Thailand based on the Environmental Kuznets Curve Hypothesis

Economic growth is a worthwhile economic goal, but economic well-being also results in the destruction of natural resources. As consumption of goods and services rise, natural resources are being depleted. The environmental landscape also changes. Of particular concern is the global warming issue. Consequently, there is an acute need to study the impact on environment as a result of economic development. For the study of the influence of economic development on the environment, the most popular concept is “Environmental Kuznets Curve Hypothesis”. In this study, the carbon dioxide (CO2) emission is used both as a proxy of global warming and as a dependent variable interacting with other independent variables. In summary, GDP per capita relationship with natural variables corresponds to the Environmental Kuznets Curve Hypothesis. Among other findings concerning global warming: The fossil fuel energy consumption is positively related to global warming, while Thailand’s total forest area is negatively correlated with agricultural area.

Article Details

Section
Article