บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการ ความขัดแย้งชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

นักรบ เถียรอ่ำ

Abstract

บทความนี้ เรื่อง “บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการความขัดแย้งชุมชนท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งของชุมชน และเสนอรูปแบบวิธีการและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการความขัดแย้งของชุมชนจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด โดยพื้นที่ในการศึกษา คือ เทศบาลเมืองตราด จังหวัดตราด เทศบาลตำบลบ้านเพ จังหวัดระยอง องค์การบริหารส่วนตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เทศบาลตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี และเทศบาลตำบลทับช้าง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแนวคำถามสัมภาษณ์เจาะลึก แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างการเก็บรวมรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยจะเป็นการวิจัยที่เก็บข้อมูลจากเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยการจัดหมวดหมู่ประเด็นสำคัญพร้อมกับการตีความอธิบายความนำเสนอในลักษณะการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งของชุมชนในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด โดยรวมมีหลายสาเหตุ คือ ได้รับข้อมูลไม่ตรงกัน ปัญหาโครงสร้างความรู้สึกไม่เป็นธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การกำหนดนโยบายของรัฐ การเมืองท้องถิ่นและการขาดจิตสำนึกสาธารณะ

วิธีการและรูปแบบของการจัดการปัญหาของความขัดแย้งของชุมชน โดยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้วิธีการ คือ การไกล่เกลี่ย เจรจาต่อรอง บทบาทผู้นำชุมชน อำนาจท้องถิ่น บทบาทกลุ่มอาชีพ โครงสร้างชุมชน ความสัมพันธ์ ค่านิยมและผลประโยชน์ของชุมชน

 

The Role of Local Government towards the Community Conflict Management

The objectives of this research were 1) to analyze the causes of conflicts in the community, 2) to propose the model, approach, and role of the local government in managing conflict of the communities of the Eastern Seaboard Provinces-Rayong, Chanthaburu, and Trat. The research sites for the study were Trat Town Municipality, Trat Province, Ban-Phe Sub-District Municipality, Rayong Province, Sanamchai Sub-District, Chanthaburi Province, Makham Sub-District Municipality, Chanthaburi Province, and Thap Chang Sub-Distict Municipality, Soi Dao District, Chanthaburi Province. The research instrument was structured and unstructured in-depth interview. The qualitative research method was employed for the study. The data were collected from documents and field researches. The data were then analyzed by inductive method and the issues were classified with descriptive interpretation.

Article Details

Section
Article