การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อ การป้องกันอุบัติภัยบนท้องถนนในประเทศไทย

Main Article Content

พูนศักดิ์ ศิริชัย
ประชัน วัลลิโก

Abstract

การศึกษาในเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่ประกอบด้วย 1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยบนท้องถนนในประเทศไทย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อการป้องกันอุบัติภัยบนท้องถนนในประเทศไทยที่มีประสิทธิผล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมโดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย จากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย จำนวน 1,200 ราย 2) การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย และ 3) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมมนากลุ่มหรือ Focus Groups จากข้อแนะนำของผู้บริหารระดับสูงของกรมการขนส่งทางบก และขนส่งมวลชน ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารการสื่อสารโทรคมนาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง และระดับที่เกี่ยวข้องกับงานจราจร ผู้รายงานข่าว อาจารย์ และผู้บริหารองค์การที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผลการวิจัย ได้ข้อค้นพบที่อยู่ในรูปแบบของ “The integrated communications strategy to solve a problem of accidents on the road” Model ที่จะเป็นการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเชิงบูรณาการในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยนั้น จะมีองค์ประกอบที่จะทำการสื่อสารนั้นอยู่ 8 ส่วนได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ความรุนแรงของอุบัติเหตุ 2) ด้านพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย 3) ด้านทัศนคติต่อความปลอดภัย 4) ด้านความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อม 5) ด้านการรณรงค์และ การประชาสัมพันธ์ 6) ด้านการปรับปรุงกฎหมาย 7) ด้านบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน 8) ด้านการปรับปรุงพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งหน่วยงานหรือองค์การภาคเอกชนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ให้เกิดความมีประสิทธิผลมากที่สุด ดังการรณรงค์ที่ว่า “สงกรานต์ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์” ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สังคม ประเทศชาติ ต่อไป

 

The Development of Integrated Communication Strategy to Prevent Traffic Accidents in Thailand

The study aimed to 1) compare the road accidents classified according to the personal data, and 2) develop integrated communications strategy to effectively prevent road accidents in Thailand using mixed research methodology divided into three steps, as follows: 1) quantitative research to survey and analyze the data of three related parties. The target sample groups were a total of 1,200 persons. 2) Delphi Technique and, 3) Focus Group Based Qualitative Research to obtain advices from qualified persons for processing and improving data in the final stage. The experts or qualified persons included the high-level management from Department of Land Transport and Mass Transit Authority, management from Ministry of Transport, management from telecommunication sector, high level police officers and traffic police officers, news reporters, and instructors as well as management from relevant organizations.

The results yielded the findings in the form of “the integrated communications strategy to solve the problem of accidents on the road” model. The element for making communications is divided into eight parts : 1) perception for the severity of the accident ; 2) safe driving behavior ; 3) attitudes to safety ; 4) opinion on environments ; 5) campaigns and public relations ; 6) amendment of relevant laws ; 7) roles and duties of mass media, and 8) development of communications technologies. It is necessary for the private authority or organization wishing to apply such element should consider the appropriateness for the intended purposes and targets as well as period of communications and other elements to be in line with the circumstances at the time for effective decrease of road accidents in the future, according to the campaign “Songkran Zero Road Death” for the benefit of general public, society, and nation.

Article Details

Section
Article