การพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารการกีฬาในประเทศไทย

Main Article Content

สุริยา ประดิษฐ์สถาพร
ประชัน วัลลิโก

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรระดับปริญญาตรีทางด้านการสื่อสารการกีฬาในประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ของหลักสูตรการสื่อสารการกีฬาที่ตอบสนองความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้วิธีวิจัยโดยการใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi) กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญซึ่งความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ ทางด้านวิชาการสื่อสารมวลชนผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการกีฬาผู้บริหารสื่อมวลชนทางด้านกีฬาของเอกชน และนักข่าวสายกีฬา เพื่อประเมินความคิดเห็นต่อหลักสูตรสื่อสารการกีฬาของประเทศไทย และนำมาสร้างตัวอย่างต้นแบบหลักสูตรสื่อสารการกีฬารวมทั้งทดลองสอนรายวิชาในต้นแบบหลักสูตร จำนวน 3 วิชา ได้แก่ วิชาการสื่อข่าวและการเขียนข่าวกีฬา วิชาการถ่ายภาพกีฬา และวิชาสื่อใหม่กับการสื่อสารการกีฬากับกลุ่มตัวอย่างซึ่งนักข่าวกีฬาท้องถิ่น จำนวน 10 คนรวมทั้งจัดให้มีการวิพากษ์ร่างหลักสูตรต้นแบบหลักสูตรสื่อสารการกีฬา

ผลจากการศึกษาพบว่าต้นแบบหลักสูตรการสื่อสารการกีฬาในประเทศไทย (Prototype) ควรมีองค์ประกอบของหลักสูตรจำนวน 120 หน่วยกิต 5 หมวดวิชาโดยมีสัดส่วนดังนี้ ได้แก่ 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 25% (30 หน่วยกิต) 2) หมวดวิชาสื่อสาร 20% (24 หน่วยกิต) 3) หมวดวิชากีฬา 15% (18 หน่วยกิต) 4) หมวดวิชาสื่อสารการกีฬาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 30% (42 หน่วยกิต) 5) หมวดวิชาเลือกเสรี 5% (6 หน่วยกิต) และผู้เข้าร่วมการวิพากษ์ในฐานะผู้ใช้บัณฑิต มีความเห็นควรใช้รูปแบบสหกิจศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แต่ให้คงรูปแบบ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเดิมไว้ด้วยเพื่อเป็นการยืดหยุ่นในการจัดการการศึกษา

 

A Curriculum Development for Sports Communications in Thailand

The purposes of this research were 1) to analyze and evaluate the proposed curriculum for Bachelor’s degree program of Sport Communications in Thailand 2) to develop the Prototype of Sport Communications Curriculum which responded to the need of society and economy of the country. The methodology of this research was Delphi technique. The samples were composed of the skilled and experienced experts in mass communications, high executives of governmental and private organizations concerning sport communications, sport media executives and sport reporters in private organizations. These samples gave their opinions and criticized the proposed curriculum of Sport Communications which led to establish the proposed curriculum of the Prototype of Sport Communications. Also, the researcher had taught the three subjects in the proposed curriculum of Sport Communications to the samples of ten local reporters. The three subjects were: Sport News Reporting and Sport Writing, Sport photographing, and New Media and Sport Communications. Moreover, the critical conference was organized to discuss the proposed curriculum of the prototype of Sport Communications by the 20 stakeholders in Sport Communication circles.

The results showed that the proposed curriculum of the prototype of sports communications in Thailand consisted of 120 credits hour of 5 fields of study with a ratio as follows: 1) General education, 25% (30 credits) 2) Courses in Communications 20% (24 credits) 3) Courses in Sports 15% (18 credits) 4) Courses in Sports Communications and Sports Communications professional experiences, 30% (42 credits) 5) 5% for Electives (6 credits). The suggestions and recommendations received from the participants in the critical conference were: the form of cooperative education should be used for the professional experiences. However, the former course for practicum of professional experiences should be maintained for the flexibility in management.

Article Details

Section
Article