สังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน : การพัฒนาตัวชี้วัด และการนำไปใช้

Main Article Content

วลัญชา สุพรรณธริกา

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบสังคมที่สามารถมอบความอยู่ดีมีสุขให้แก่มนุษย์บนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน และจัดทำตัวชี้วัดเพื่อวัดผลการพัฒนา สามารถนำไปใช้ทดลองกับบริบทจริง โดยมีขั้นตอนในการศึกษา คือ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะองค์ประกอบของสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืนประกอบด้วย 4 มิติ ซึ่งประยุกต์จากแนวคิดการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) พบว่า 1) มนุษย์มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง 2) ได้รับสวัสดิการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตครบถ้วน สมบูรณ์สังคมมีความสงบสขุ 3) มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์และปราศจากมลพิษ 4) ได้อยู่ในระบบนิเวศที่มีความมั่นคงและยั่งยืน ดำเนินการพัฒนาเป็นตัวชี้วัดสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน ได้ 47 ตัว นำมาประเมินกับบริบทศึกษา คือ ชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าชุมชนสามารถผ่านเกณฑ์บรรลุเป้าหมายได้ทั้งหมด 47 ตัวชี้วัดมีความเป็นสังคมอุดมสุขที่ยั่งยืนในระดับสูง โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชน คือ สังคมใช้หลักคุณธรรมตามพุทธศาสนาในการบริหารจัดการชุมชน ผู้นำมีศีลธรรมจรรยาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งชุมชนและมีแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการดำเนินชีวิต

 

Green Sustainability Happiness Society : Indicators Development and Application

This study has two objectives: 1) to investigate the society model for human’s well-being based on sustainable development; 2) to develop indicators for measuring happiness society that can be applied in real life. The methodologies of this study include review of literature, in-depth interviews, and participant observations. The study found that the essential components of Green Sustainability Happiness Society base on the concept of Environmental Impact Assessment (EIA) including : 1) health quality ; 2) human welfare (access to human basic and living quality needs) ; 3) sustainable flow of environmental resources; 4) stable ecosystem exist in the RatchathainiAsoke Community. Within these scopes, 47 indicators were literally considered applicable and used to assess the green and happiness quality of the RatchathaniAsoke Community in Ubonratchathani Province. It was found that the community has all qualities of Green Sustainability Happiness Society. The main drivers include the dedication to sinless life, to honor nature, to be selective of sustainable technology, and to self-reliance principle.

Article Details

Section
Article