การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์น้ำคลองแสนแสบ : ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุราณี เวียงสิมมา

Abstract

การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์น้ำ คลองแสนแสบ : ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร” วัตถุประสงค์การ วิจัยครั้งนี้คือ ศึกษาการสื่อสารชุมชน บทบาทของผู้นำในการสร้างการมีส่วนร่วม ระดับการมีส่วนร่วม และเครือข่ายการสื่อสารในการอนุรักษ์น้ำคลองแสนแสบ ของสมาชิกในชุมชน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ 2 วิธีการ คือ การวิจัยเอกสาร (documentary research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุรักษ์น้ำคลองแสนแสบ จำนวน 19 คน ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารระหว่างกลุ่มผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการชุมชนและผู้อาวุโสในชุมชนกับกลุ่มชาวบ้าน เป็นรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) ทิศทางการไหล ของข่าวสาร (Flow of Information)เป็นแบบบนลงล่าง (Top-Down) อย่างไม่ เป็นทางการ (Informal Communication) เน้นการสื่อสารเชิงของความร่วมมือ ผ่านสื่อบุคคลมากกว่าการสั่งการ ส่วนการสื่อสารระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้านนั้น เป็นรูปแบบการสื่อสารรอบทิศทาง (Two-Way Communication) ทิศทาง การไหลของข่าวสาร (Flow of information) เป็นแบบแนวนอน (Horizontal) และมีลักษณะหลากหลาย (Multiplicity) เน้นการสื่อสารในเชิงปรึกษาหารือนอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีรูปแบบการสื่อสารผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านสื่อบุคคล ผ่าน บทที่ 1 สื่อกระจายเสียงระบบเสียงตามสาย ผ่านสื่อโทรศัพท์ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) หรือการพูดคุยแบบเผชิญหน้า (Face to face) โดยมีสาร (Message) ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารจำแนกเป็น 2 ประเด็นคือ 1) ประเด็น เรื่องความสะอาดที่ยึดหลักการศาสนาอิสลามซึ่งระบุไว้ในอุลกุรฺอาน คือ ความสะอาด เป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา และน้ำเป็นส่วนสำคัญที่ชาวมุสลิมต้องใช้ชำระล้าง ร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าเฝ้าพระผู้เป็นเจ้าผ่านการละหมาดวันละ 5 ครั้ง และ 2) ประเด็นเรื่องผลประโยชน์ที่สมาชิกชุมชนทุกระดับจะได้รับร่วมกันจากการอนุรักษ์น้ำ คลองแสนแสบ บทบาทของผู้นำในการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมคือเป็นผู้ ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) และเป็นครู (Teacher) สมาชิกชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์น้ำคลองแสนแสบ ใน 3 ระดับคือ 1) ระดับการตัดสินใจ (Decision Making) 2) ระดับการร่วมมือ (Cooperation) และ 3) ระดับการใช้ประโยชน์ (Utilization) คุณลักษณะเครือข่าย การสื่อสารของชุมชน 1) กลุ่มครู มีลักษณะการสื่อสารเครือข่ายเป็นแบบกระจาย อำนาจ (Decentralized Communication) 2) กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมมี ลักษณะการสื่อสารเครือข่ายแบบมีศูนย์กลาง (Centralized Communication)

 

The Use of Communication to Create People Participation in Water Conservation at Khlong Saen Saep : Masjid Kamal-Ul-Islam Community, Bangkok

The objective of this research on “Communication to Create Community Participation in Water Conservation at Khlong Saen Saep: Masjid Kamal-Ul-Islam Community” is to study the community communication, the leadership role in participation, creation, participation level, and community members’ communication network on water conservation at Khlong Saen Saep. The researcher applied two qualitative research methods including documentary research and in-depth interviews of 19 experts in water conservation at Khlong Saen Saep.

The findings of the research indicated that the communication between the groups of community leaders which were consisted of Imams, Masjid committee, community committee and the seniors in the community with the villager groups was in the mode of two-way communication, top-down flow of communication, informal communication, and cooperative communication emphasis through personal media more than commanding. The communication between villagers and villagers was in the mode of three hundred and sixty degree communication, horizontal flow of information with multiplicity, and deliberative communication emphasis. In addition, the villagers also had the mode of communications through different activities, personal media, broadcast media by wired broadcasting system, television media, on-line social network or face-to-face conversation. The messages created for use in communication were classified into two perspectives including : 1) cleanness perspective based on Islam principle mentioned in Al-Quran that the cleanness is a part of devotion and water is the core that Muslims must utilize for washing body to be clean before appearing in front of god through the Salat times, the worship of the Allah’s kindness for five times per day; and 2) benefit perspective mutually gained by all levels of community members from the water conservation at Khlong Saen Saep. The roles of the leaders in communication to create participation were as the communicator of knowledge, change agent and teacher. The community members of Masjid Kamal Ul-Islam participated in water conservation at Khlong Saen Saep in three levels consisting of 1) Decision-Making Level, 2) Cooperation Level, and 3) Utilization Level. Moreover, the characteristics of the community media networks included 1) teacher group having the type of decentralized communication network, and 2) industrial factory group having the type of centralized communication network.

Article Details

Section
Article