รูปแบบการทำเกษตรประณีตสำหรับผู้สูงอายุ;Agriculture Refined (Kaset Praneet) Model for the Elderly

Main Article Content

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ รัตนเพียรธัมมะ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการทำเกษตรประณีตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุโดยทำการศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติในการทำเกษตรประณีต ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จรวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการทำเกษตรประณีต โดยมีการคัดเลือกพื้นที่แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะพื้นที่ที่ปราชญ์ชาวบ้านและผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรประณีตและได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำเครือข่าย กระบวนการในการศึกษาเน้น การศึกษาจากเอกสาร การสังเกต การสำรวจสภาพพื้นที่ การศึกษาดูงาน การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าปราชญ์ชาวบ้านมีการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำจากพื้นที่เล็กๆไปหาใหญ่ตามกำลังความสามารถของตนเองและครอบครัว ปลูกพืชทุกอย่างที่กิน ปลูกต้นไม้ที่ใช้ทำประโยชน์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ปลูกพืช 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ส่วนที่เหลือนำไปแจกและจำหน่าย ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี  ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มุ่งสู่การพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาจากภายนอก ทั้งนี้รูปแบบการทำเกษตรประณีตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุมีหลักการสำคัญคือต้องยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตโดยประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อการพึ่งตนเอง โดยมีองค์ประกอบในด้านสุขภาพ การมีพื้นที่ มีความรู้ด้านการเกษตร ด้านการจัดการ การออมและการจดบันทึก ทั้งนี้ขั้นตอนในการทำเกษตรประณีตเริ่มจากการค้นหาตัวเอง  การวิเคราะห์ข้อมูลและทรัพยากรที่มีอยู่   ตั้งใจและตัดสินใจทำทันที จัดทำบัญชีครัวเรือน ทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย  โดยปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของการทำเกษตรประณีตได้อย่างยั่งยืนประกอบด้วย ปัจจัยทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและความพอเพียง

This research aimed to construct the agricultural refined (Kaset Praneet) model followed the Sufficiency Economy Philosophy for the elderly. The researcher had studied intensively the self-sufficient lifestyles followed the Sufficiency Economy Philosophy, she also delved into the concept, principle and practice of doing the agricultural refined. The areas of research were selected using purposive sampling only the areas where the local intellectual and the elderly succeeded in doing the agricultural refined. The research methodology included the review of the document, observation, surveying, study visits, participation in activities, conducting, workshop and in-depth interview.

The result was that the lifestyles of the local intellectuals had followed the sufficiency economy philosophy. They started doing the agricultural refined from the small plot of land to the larger one depended on their and their family’s capabilities. They grew all edible plants, and all useful trees, that is to say, they grew three kinds of trees for four beneficial results. The surplus were distributed or sold. They also decreased the use of chemical fertilizers, and used the resources available in the area, conducted the knowledge exchange, moved toward self-sufficiency, decreased the dependency from outside. The major principle of the agricultural refined (Kaset Praneet) model followed the Sufficiency Economy Philosophy for the elderly was to stick to the Sufficiency Economy Philosophy lifestyles and applied the New Agricultural Theory for self-sufficiency. The major elements included health, having space, knowledge in agriculture, management, money saving and note-taking. In terms of steps in doing the agricultural refined, it should start from self-searching, data and existing resource analysis, intention and quick-decision, keeping household accounts regularly and continuously, and knowledge exchange with the networks. At any rate, the factors that determined the success of the agricultural refined sustainably consisted of physical, biological, economical, social, and educational factors, including the sufficiency.

Article Details

Section
บทความวิจัย