การตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในจังหวัดภูเก็ต;The Selection Decision of Foreign Tourists for the Accommodation in Phuket Province

Main Article Content

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักในจังหวัดภูเก็ตและเพื่อเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในจังหวัดภูเก็ต จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 39 ข้อ มีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ ได้แก่การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)ผลการวิจัย พบว่า 1) การตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในจังหวัดภูเก็ตทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการให้บริการด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด 2) นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ อาชีพรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับ (ดาว) ของโรงแรมที่เลือกใช้บริการ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกโรงแรมที่พัก และช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อเลือกโรงแรมที่พัก มีระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักในจังหวัดภูเก็ตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้าน เพศ อายุ ที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษาระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่มาจังหวัดภูเก็ตแต่ละครั้ง และสถานที่ตั้งของที่พักในจังหวัดภูเก็ตที่แตกต่างกัน มีระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักในจังหวัดภูเก็ตไม่แตกต่างกัน

The objectives of this research were to study the selection decision of the foreign tourists for the accommodation in Phuket and to compare the selection decision level of foreign tourists for the accommodation in Phuket by personal factors. The sample size is 400 people selected by Simple Random Sampling method. The research tool was questionnaires of 39 items with the reliability of .89. The statistical analyses were frequency, percentage, means, standard deviation (S.D.), statistical t-test and one-way analysis of variance (ANOVA).

The results were as follows: 1) the overall and each aspect of the Marketing Mix 7 P’s in selection decision of foreign tourists for the accommodation in Phuket was at high level. Considering at each aspect, ranging in order from the highest mean to the lowest mean, it was found that the aspect of People received the highest mean, next on down were: Product, Process of Service, Physical Evidence, Price, Place, and Promotion, respectively. 2) The foreign tourists who were from different occupation, average income per month, level (stars) of selected hotel, the influence person over the selection decision for the accommodation, and the channel of information perception about the hotel had different selection decision for the accommodation in Phuket at the statistical significance of 0.05. However, the foreign tourists with different gender, age, housing zone, education background, average length of stay in Phuket for each visit, and location of the accommodation in Phuket

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). ข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทย. ม.ป.ท. : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต.

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2558). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ : แสงดาว.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2551). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชัชวาล เวศย์วรุตม์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพักอาศัยของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ทักษิณา คุณารักษ์. (2546). การตลาดและการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวเชียงใหม่. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธารทิพย์ รักการ. (2556). การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบริหารสู่มาตรฐานระดับสากล. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2549). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ไพศาล ทองคำ. (2553). พฤติกรรมและความต้องการเลือกใช้บริการที่พักแรมของนักท่องเที่ยวกรณีศึกษาบริเวณอ่าวนาง จังหวัดกระบี่. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต, ภูเก็ต.

สำนักงานสถิติ จังหวัดภูเก็ต. (2556). สภาวะเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2553 – 2555. ภูเก็ต : สำนักงานสถิติ จังหวัดภูเก็ต.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2551). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนันต์ เชี่ยวชาญกิจการ. (2553). หลักการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อธิชัย ช้อยชาญชัยกุล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเกาะพีพี จังหวัดกระบี่. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

Kotler, Philip. (1997). Marketing management : Analysis, planning, implementation and control. New Jersey : Prentice-Hall.

Yamane, Taro. (1973). Statistics ; An Introduction Analysis. New York : Harper and Row, Publishers, Inc.