การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์วิชาชีพครูของครูผู้ช่วย สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชนชม ดิตถ์โภคินสกุล
วิ ลังกา

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ เจตคติต่อวิชาชีพครู การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงาน และจิตวิญญาณความเป็นครู ที่มีต่ออัตลักษณ์วิชาชีพครูของครูผู้ช่วย สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ เจตคติต่อวิชาชีพครู การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงาน และจิตวิญญาณความเป็นครู ที่มีต่ออัตลักษณ์วิชาชีพครูของครูผู้ช่วยสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอน ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560 จำนวน 510 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ แบบสอบถามเจตคติต่อวิชาชีพครู แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงาน แบบสอบถามจิตวิญญาณความเป็นครู และแบบสอบถามอัตลักษณ์วิชาชีพครู ใช้วิธีการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ข้อมูล


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์วิชาชีพครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความสอดคล้องกลมกลืน พบว่า ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 39.50, df=20, p=.006, ค่า GFI=0.99, ค่า AGFI=0.95, RMSEA=0.04, SRMR= 0.03

  2. อัตลักษณ์วิชาชีพครูได้รับอิทธิพลทางตรงเป็นบวกจากการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงาน และจิตวิญญาณความเป็นครู และได้รับอิทธิพลทางอ้อมเป็นบวกจากการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ ผ่านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำงาน และได้รับอิทธิพลทางอ้อมเป็นบวกจากเจตคติต่อวิชาชีพครูผ่านจิตวิญญาณความเป็นครู  ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งหมดร่วมกันอธิบาย อัตลักษณ์วิชาชีพครู ได้ร้อยละ 76

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ พลับจีน. (2557). การวิเคราะห์กลุ่มแฝงอัตลักษณ์เชิงวิชาชีพครู. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2557,

จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20418.

กิรดา พุ่มพงษ์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง คุณลักษณะงานความพึงพอใจ

ในงานกับผลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2558, จาก http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/detail.php?id=19543&word=

กุลธิดา กรมเวช. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2558,

จาก http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2555/b175448.pdf.

คุรุสภา. (2548). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2557,

จาก www.northbkk.ac.th/ps/file/ข้อบังคับคุรุสภา%20ปี%202548.pdf.

ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และ ณัฐพงษ์ ธรรมรักษาสิทธิ์. (2558). การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ : กระบวนการพัฒนา

สู่ความเป็นมืออาชีพในชีวิตการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2557, จาก

https://www.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/29907/25754.

ไทยรัฐออนไลน์. (2557ก). โพลเผยดัชนีครูไทยปี56 ได้ 7.8 จากเต็ม 10 พบยังสอนเน้นท่องจำ. ไทยรัฐออนไลน์.

สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2557, จาก http://www.thairath.co.th/content/455149.

_______. (2557ข). 'ณรงค์' ชี้ปัญหาครูอื้อ กดดันสังคมมอง 'การศึกษา' ตกต่ำ. ไทยรัฐออนไลน์. ประชาชาติ.

สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2558, จาก http://www.thairath.co.th/content/455149.

ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2554). ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู:การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา.

สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2557 จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/ download/812/669.

นาฎวดี จำปาดี. (2554). การรับรู้ความสามารถของตนเอง รูปแบบความคิดสร้างสรรค์ และปัจจัยส่วนบุคคล

ที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม : กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการคำปรึกษาและพัฒนาระบบ

คอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2558, จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/1034/.

นิตยา กัณณิกาภรณ์. (2553). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู

ของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2558, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Re_Sta/Nittaya_K.pdf.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2550). ความเป็นครู (Self actualization for teacher). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2544). เจตคติ :แนวคิด วิธีการวัดและมาตรวัด.

นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณะ บรรจง. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของเอกลักษณ์นักศึกษาครูและการรับรู้ความสามารถของตน

ในการเป็นครูนักวิจัยที่มีต่อพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูในยุคปฏิรูปการศึกษา.

สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2558, จาก http://bsris.swu.ac.th/thesis/461996043RB999.pdf.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2544). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์. (2545). ปัจจัยการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อเอกลักษณ์วิชาชีพ

และพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของครูแนะแนว. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2558, จาก

http://bsris.swu.ac.th/thesis/401996047RB999f.pdf.

สายสะพาย. (2556). 6 ปัญหา ที่เป็นอุปสรรคของครูไทย ?. ประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2557,

จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358828993.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือเส้นทางครูมืออาชีพสำหรับครูผู้ช่วย. สืบค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.korat4.go.th/download/news/0757/news_100757_2.pdf.

Olsen, Brad. (2008). Introducing Teacher Identity and This Volume. Retrieved June 6, 2014,

from http://www.teqjournal.org/backvols/2008/35_3/05introduction.pdf.

Zivkovic, Predrag. (2013). PROFESSIONAL DEVELOPMENT AND TEACHERS PROFESSIONAL

IDENTITY: SELFASSESSMENT IN REPUBLIC OF SERBIA. Retrieved June 8, 2014, from http://www.wjeis.org/FileUpload/ds217232/File/18_predrag_%C5%BDivkovi% C4%87.pdf