รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงาน ของนักออกแบบสื่อดิจิทัล

Main Article Content

ณปภัช วชิรกลิ่นขจร
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

บทคัดย่อ

       


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานของนักออกแบบสื่อดิจิทัล  2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน  3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานก่อนและหลังเรียน                         4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาทักษะการทำงาน รูปแบบการเรียนการสอนได้รับการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน โดยการทดสอบด้วยสถิติ t-test for dependent พบว่า ระดับความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Analysis of Covariance พบว่า กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสัมพันธ์ของความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่..สื่อแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเน้นความคิดสร้างสรรค์สําหรับนักศึกษาปริญญาตรีด้านการออกแบบ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก.

ภูเมธ นิธิกุลปรีชา และ อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2558). การออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับเจเนอเรชันซีในฐานะผู้ซื้อรถยนต์คันแรก. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(2), 86-95.

รอบทิศ ไวยสุศรี. (2557). การใช้เทคนิคบริหารสมองเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วิชัย ประสิทธ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตร สานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ศูนย์เสริมปัญญาไทย.

สำนักงานการอุดมศึกษา. (2561). สถิติอุดมศึกษา. (10 มีนาคม 2561) สืบค้นจาก http://www.info. mua.go.th/info/.

สิริชัย ดีเลิศ. (2558). กระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 1341-1360.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). (15 มกราคม 2562) สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea.

Guilford, J.P. (1959). Traits of Creativity in Anderson, H.H., Ed., Creativity and Its Cultivation. New York : Harper & Row books.

Simpson, E.J. (1972). The Classification of Educational Objectives in the Psychomotor Domain. Washington DC. : Gryphon House, Inc.