องค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (อีเลิร์นนิง) ที่มีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (อีเลิร์นนิง) ของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (อีเลิร์นนิง) ต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของอาจารย์และนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนออนไลน์ (อีเลิร์นนิง) ของนักศึกษาที่มีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน และอาจารย์ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ โดยการกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (อีเลิร์นนิง) ของนักศึกษา อันดับที่ 1 คือ ระบบสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อันดับที่ 1 คือ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 3) องค์ประกอบด้านเนื้อหาและสื่อการเรียน ด้านระบบส่งสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านระบบการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนและด้านผู้สอนและผู้เรียนสามารถทำนายการพยากรณ์การมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติได้ร้อยละ 62.7 และมีสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน คือ Y=0.214 (X1)+0.243 (X2)+0.125(X3)+0.137(X6)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปพิมพ์เผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน
References
เกียรติกำจร กุศล กำไล สมรักษ์ จันทร์จุรี ถือทอง และ ธัญวลัย หองส่ำ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อการเสริมสร้างผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาภาวะผู้นำ และการจัดการทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(3), 1-8.
ชินวัฒน์ ไข่เกตุ ณัชชาจารย์ โรจน์วัฒนดิษกุลม ประกรณ์ ตุ้ยศรีม ภัทร ยันตรกร และ ธัชกร พุกกะมาน. (2564). ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 56-79.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning : from theory to practice โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ปัทมาภรณ์ คงขุนทด ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์ นุชมาศ แก้วกุลฑล นฤมล เปรมาสวัสดิ์ และ มยุรี พางาม. (2563). ความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิต และอัตลักษณ์ของพยาบาลจบใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีการศึกษา 2561, วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1086-1094.
พชร ลิ่มรัตนมงคล และ จิรัช วิเชียรปัญญา. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย, วารสารรังสิตสารสนเทศ, 19(2), 54-63.
วิทยา วาโย อภิรดี เจริญนุกูล ฉัตรสุดา กานกายันต์ และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-297.
สถิติอุดมศึกษา. (2561). สถิติอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561. (20 มกราคม 2564) สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/assets/img/pdf/stat.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ. (2552). กรอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษา. (2 ตุลาคม 2563) สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.
Eze, S.C., Chinedu-Eze, C.A., Okike, C.K. & Bello, A.O. (2020). Factors influencing the use of e-learning facilities by students in a private higher education institution (HEI) in developing economy. Humanities and Social Sciences Communications, 7(133), 1-15.
Gopal, R., Singh, V. & Aggarwal, A. (2021). Impact of online classes on the satisfaction and performance of students during the pandemic period of COVID19. Education and Information Technologies, 26(5), 1-25.
Panda, D., Gamal, M., Zafar, A., Parambi, D., Senapati, A., Patro, S., Sahoo, P., & Bose, A. (2020). A study on the effectiveness of online teaching in pharmacy education from teacher and student perspective during the covid-19 pandemic. Pharmacy Education, 20(2), 297-301.
Pham, L., Limbu, Y., Bui, T., Nguyen, H., & Pham, H. (2019). Does e-learning service quality influence e-learning student satisfaction and loyalty? Evidence from Vietnam. International Journal of Education Technology in Higher Education, 16(7),1-26.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed.), New York : Harper & Row.