2. การกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป กรณีศึกษาการกู้ยืมเงิน การกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป กรณีศึกษาการกู้ยืมเงิน

Main Article Content

ศิริขวัญ โสดา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาและความจําเป็นของหลักความเป็นอิสระในการกระจายอํานาจให้แก่ท้องถิ่น กรณีศึกษาการกํากับดูแลการกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป ปัญหาและอุปสรรคของความเป็นอิสระในการกระจายอํานาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป กรณีศึกษาการกํากับดูแลการกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปและระเบียบกระทรวงมหาดไทย และเพื่อเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระจากการรวมศูนย์อํานาจไว้ที่ส่วนกลางมีความเป็นอิสระจากรัฐส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการกู้ยืมเงิน โดยกําหนดให้มีกฎหมายเฉพาะเรื่อง โดยมีขอบเขตการศึกษา คือ หลักความเป็นอิสระในการกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การกํากับดูแล กฎหมายและหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้เน้นการศึกษาค้นคว้าแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิชาการงานวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ตํารา หรือหนังสือต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ รายงานการประชุม รายงานการสัมมนา ตลอดจนบทความจากอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องเพื่อนํามาใช้วิเคราะห์ประกอบการศึกษาในครั้งนี้


จากการศึกษาพบว่าในกรณีการกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล มีการกํากับดูแลจากรัฐส่วนกลางโดยกําหนดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการในระดับจังหวัด และเมื่อได้รับการพิจารณาในระดับจังหวัดแล้วต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาอีก และหากเป็นกรณีที่กู้ยืมเงินเกินว่า 50 ล้านบาทขึ้นไปเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของการกํากับดูแลจากรัฐส่วนกลางที่นอกจากมีขั้นตอนที่มากมายแล้วยังทําให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นขาดความเป็นอิสระตามหลักการกระจายอํานาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการกํากับดูแลยังคงจําเป็นที่จะต้องมีเพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ควรปรับลดการกํากับดูแลลงเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปมีความเป็นอิสระที่มากขึ้น ส่วนการกู้ยืมเงินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทองค์การบริหารส่วนตําบลนั้นมีกฎหมายในระดับจัดตั้งบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตําบลสามารถทําการกู้ยืมเงินได้ แต่องค์การบริหารส่วนตําบลนั้นไม่สามารถทําการกู้ยืมเงินได้เนื่องจากไม่มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตําบลไว้ ถึงแม้จะมีการยกสถานะขององค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นเทศบาลตําบลซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบที่สามารถกู้เงินได้ซึ่งกรณีนี้เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้น ควรมีการกําหนดหลักเกณฑ์ในองค์การบริหารส่วนตําบลสามารถทําการกู้ยืมได้ แต่ถึงอย่างไรควรกําหนดวงเงินไม่ให้เกิน 50 ล้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ โชติจรุงเกียรติ์. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.
วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล เล่มที่ 1 ปีที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558).

คณิต ณ นคร และคณะ. (2558). ทําไมจังหวัดต้องจัดการตนเอง. นนทบุรี: บริษัท มาตา การพิมพ์ จํากัด.

ชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์. (2557). คลื่นลูกที่สองของการกระจายอํานาจจังหวัดจัดการตนเองและนครแม่สอด. นครปฐม: สถาบัน
สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). ทฤษฎีและแนวคิดการปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์
คบไฟ.

ปรีชา สุวรรณทัต. (2557). วิชาธรรมศาสตร์ว่าด้วยการคลัง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2557). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Fumihiko Saito, (2008). Foundation for Local Governance: Decentralization in Comparative Perspective
(New York: Springer, 2008), p.4.

Jonathan Rodden, (2004). Comparative Federalism and Decentralization:On Meaning and Measurement. in
Comparative Politics 36:4, July 2004, pp.481-500.