3. การบริหารจัดการน้ํา: กรณีศึกษาโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาลําปาว

Main Article Content

วิชชุกร ศรีแก่นจันทร์
ศุภลักษณ์ สุวรรณชฎ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการน้ําของโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาลําปาว 2) ศึกษาบทบาท
ในการบริหารจัดการน้ําของโครงการฯ ในการบริหารจัดการน้ําในเขตอําเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อหาแนวทางเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ําของโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาลําปาวในการบริหารจัดการน้ําในเขตอําเภอเมือง จังหวัด
กาฬสินธุ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ของผู้บริหารและ
บุคลากร จํานวน 20 ราย และการทําสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมกับตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ําจํานวน 20 ราย แล้วนํา
ข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ผลการศึกษาพบว่า โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาลําปาว มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ํา
อําเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ครอบคลุมพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอยางตลาด และอําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีครัวเรือน
ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชาชนทั่วไปได้รับผลประโยชน์กว่า 30,000 ครัวเรือน ดังนั้น การบริหารจัดการน้ําจึงเป็น
เรื่องที่สําคัญ ในการบริหารจัดการน้ําโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาลําปาว มุ่งเน้นการวางแผนแบบยืดหยุ่น เนื่องจากการบริหาร
จัดการน้ําต้องดูสถานการณ์น้ําและสถิติข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบในขณะเดียวกันเกษตรกรผู้ใช้น้ําในพื้นที่เห็นว่า ผลการบริหาร
จัดการน้ําที่ผ่านมา ทําให้เกษตรกรมีรายได้จากการเกษตรและการทําประมง กระตุ้นเศรษฐกิจให้จังหวัดกาฬสินธุ์มีชื่อเสียงในเรื่อง
กุ้งก้ามกราม แนวทางในการบริหารจัดการน้ําของโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาลําปาว คือ ควรให้ความสําคัญกับการให้ความรู้
และส่งเสริมการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ําให้ครบทุกพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งการบํารุงรักษาอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานกว่า 30 ปี ให้อยู่ใน
สภาพที่พร้อมใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาลสมัย มะณีแสง. (2551). ปราชญ์แห่งน้ํา. หนังสือเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ไกรสร เพ็งสกุล. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา: ศึกษากรณีลุ่มน้ําสาขาคลองปะเหลียน
จังหวัดตรัง. (รายงานวิจัย) สํานักงานทรัพยากรน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมพัฒนาทรัพยากรน้ําบาดาล. (2556). โครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้งปี 2556. ค้นเมื่อ
25 สิงหาคม 2561, จาก https://www.dgr.go.th/Agriculture56/story.php.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สํานักงานจังหวัดกาฬสินธุ์. (2556). ประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์. ค้นเมื่อ 9
กันยายน 2561, https://www.kalasin.go.th /t/index.php/th/2017-10-02-18-25-55/2017-10-02-18-40-51.html.

โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาลําปาว. (2558). ข้อมูลโครงการ. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560, จาก https://ridceo. rid. go.
th/karasin/lampao/index_007_a.htm.

ชนาวัชร อรุณรัตน์. (2559). ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561, จาก
https://www.dwr.go.th/contents/files/ article/article_th-31032016-202017-723649.pdf.

ชัยยุทธ ชินณะราศี และดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์. (2549). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการจัดเก็บและบริการข้อมูลอุทกวิทยา.
(รายงานวิจัย). ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ดนัย จําปานิล. (2546). การวางแผนจัดสรรน้ําภายใต้การใช้น้ําร่วมในพื้นที่โครงการชลประทานชัณสูตร. (รายงานวิจัย).
กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวุฒิ ประจันตะเสน และประสิทธิ์ ประคองศรี. (2554). การจัดการน้ํา: กรณีศึกษาการผลิตข้าวนาปรังในโครงการชลประทาน
นาหนองทุ่ม ตําบลนาหนองทุ่ม อําเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่นประจําปี 2554 เรื่อง “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” วันที่ 27-29 มกราคม 2554 ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 616 – 618.

ธนวัตน์ ขยัน. (2546). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการน้ําชลประทานภูเขา กรณีศึกษาบ้านร่องถ่อน ตําบลชมพู
อําเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร. จังหวัดพิษณุโลก.

ประสิทธิ์ ประคองศรี. (2551). รายงานผลการศึกษาเพื่อพัฒนาเรื่องวิถีชีวิตในพื้นที่ประสบภาวะน้ําท่วมซ้ําซาก กรณีพื้นที่ลุ่มน้ําชี
ตอนล่าง อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และอําเภอเมือง จังหวัดยโสธร. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแบบบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปราโมท ไม้กลัด. (2557). ทางออกการบริหารจัดการน้ําของไทย. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก https://thaipublica.org/2014/03/watermanagement-solutions/.

ปราโมทย์ สาทรอด. (2559). การบริหารจัดการน้ําเพื่อการเกษตรขององคก์ารบริหารส่วนตําบล กุดเพียขอม อําเภอชนบท
จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิต ศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 3(1), 37 – 46.

พัฒนา วิจิตรพงษ์สกุล. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในพื้นที่โครงการนําร่องลุ่มน้ําย่อย
คลองน้ําวิ่ง. กรุงเทพฯ. สํานักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ํา.

ภาคภูมิ พันธุ์รัตน์. (2559). ประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําเพื่อการเกษตรในเขตลุ่มน้ําชี. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(2), 184 – 194.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม
2561, จาก https://www.ipsr.mahidol. ac.th/ipsrbeta/th/Gazette.aspx.

สุกิตติยา บญุหลาย และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ําเพื่อการเกษตรยั่งยืนกรณีศึกษา :
ตําบลท่ากระเสริม อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1771 – 1784.

สุธรรมา จันทรา. (2556). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ําจากโครงการชลประทาน แม่นํ้าชี กรณีศึกษา
โครงการสถานีสูบน้ําด้วยไฟฟ้าบ้านกุดแข้ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยบริการ. 24(1), 72 – 83.

สิริยัน นุ่มต่าย. (2560). ความรู้และประสบการณ์การจัดการน้ําเพื่อการเกษตร. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561, จาก
https://envfund.onep.go.th/สํานักงานกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 –2564). ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2560, จาก https://goo.gl/ArVNau.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
(พ.ศ. 2555 –2559). ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2560, จาก https://goo.gl/bY9o2U.

สํานักพัฒนาแหล่งน้ําขนาดใหญ่. (2557). เขื่อนลําปาว จังหวัดกาฬสินธุ์. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560, จาก
https://lproject.rid.go.th/site/index.php/th/project-information/128-2015-06-22-02-00-17/228-2015-06-
22-09-50-57.

อดิศวร ศรีเมืองบุญ และประสิทธิ์ ประคองศรี. (2553). ความจําเป็นในการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการน้ําแบบบูรณาการของ
บุคลากรส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จังหวัดขอนแก่น. (รายงานวิจัย) กรุงเทพฯ: สํานักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ํา.