7. แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์

Main Article Content

ธีรพันธ์ ลมูลศิลป์
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต
โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้วิจัยศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มประชากรคือพนักงานฝ่ายผลิต
ของบริษัท ทีบีเคเค (ประเทศไทย) จํากัด โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 160 คน
จากการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุพนักงานส่วนใหญ่คือ 31-40 ปี ในด้านการศึกษา
ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับ ปวช. ด้านรายได้เฉลี่ยประจําต่อเดือนของพนักงานส่วนใหญ่
อยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท อายุงานของพนักงานส่วนใหญ่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ปี พบว่าความสัมพันธ์ของระดับ
แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตสูงสุดได้แก่ค่าตอบแทนเงินเดือนที่ได้รับ
ควรเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและมีความเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบอยู่ โดยงานที่ปฏิบัติอยู่ต้องช่วยเพิ่มทักษะ
ประสบการณ์ ความชํานาญ เป็นกลุ่มพนักงานที่มีผลปฏิบัติงานสูงที่สุด
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาผู้บริหารควรสนับสนุนการเพิ่มทักษะประสบการณ์ความชํานาญในการปฏิบัติงาน
ให้พนักงานโดยการพัฒนาความรู้ ความสามารถ โดยการส่งเสริมการฝึกอบรม ไปพร้อมกับการให้พนักงานลงมือปฏิบัติงานจริง
โดยมีค่า Sig เท่ากับ 0.002 ถัดไปเป็นเรื่องการกําหนดค่าตอบแทนเงินเดือนต้องมีความเหมาะสมกับความรู้ความสามารถตําแหน่ง
งานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ และต้องกําหนดอัตราการจ่ายค่าตอบแทนให้แน่นอนชัดเจนสามารถอธิบายได้และต้องสัมพันธ์กับ
อัตราในตลาดแรงงานโดยมีค่า Sig เท่ากับ 0.000 รวมถึงการจัดลําดับความสําคัญของงานเพื่อใช้ในการวางระดับของเงินเดือน
ได้อย่างเหมาะสมโดยมีค่า Sig เท่ากับ 0.045 จะเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานและส่งผลดีต่อประสิทธิภาพใน
การทํางานตามมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกพงษ์ ณรงค์ศักดิ์. (2559). ปัจจัยการเพิ่มผลผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสําเร็จรูปในเขต
อําเภอ เมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม – ธันวาคม).

ณัชพล งามธรรมชาติ. (2559). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตบริษัท XYZ จํากัด.
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเลิศ จันทร์โท. (2555). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามโตโยต้า
อุตสาหกรรมจํากัด จังหวัดชลบุรี. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยะ ฉันทวัฒนานุกุล. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทํางานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท นาคาชิมา
รับเบอร์ (ประเทศไทย) จํากัด. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Robbins Judge. (2558). Organizational Behavior (16th ed.). Pearson Education Limited.