การศึกษาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ร่วมกับชุดสาธิตการไหลของของไหลผ่านท่อด้วยลมตามหลักการสมการความต่อเนื่อง

Main Article Content

ชลิตา ดาวลอย
ฉัชวรรณ ดรหลักคํา
อุดมศักดิ์ กิจทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนแบบ
สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดสาธิตการไหลของของไหลผ่านท่อด้วยลมตามหลักการสมการความต่อเนื่องและ เพื่อวัดความ
พึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดสาธิตการไหลของของไหลผ่านท่อด้วยลม
ตามหลักการสมการความต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 จํานวน
27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ normalized gain ผลการวิจัย พบว่า ชุดสาธิต
การไหลของของไหลผ่านท่อด้วยลมตามหลักการสมการความต่อเนื่อง โดยให้ลมผ่านท่อPVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน ดังนี้
0.106, 0.083 และ 0.071 m.ตามลําดับ บริเวณพื้นผิวภายในท่อจะมีชุดแผ่นเทอร์โมอิเล็คทริค 12V 6A ติดอยู่ ให้ความร้อน
โดยใช้ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ ระยะห่างระหว่างชุดแผ่นเทอร์โมอิเล็คทริคกับฐานไม้ เท่ากับ 0.2 m สังเกตความสว่าง พบว่า
ไฟ LED แบบพกพา USB ที่ติดบริเวณท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.071 m วัดค่าความต่างศักย์ของไฟ LED แบบพกพา USB
ด้วยมัลติมิเตอร์ เท่ากับ 1.04 V วัดค่ากระแสไฟฟ้า เท่ากับ 0.75 A และวัดความเร็วของลมร้อนที่ไหลผ่านท่อPVC ด้วยเครื่องวัด
ความเร็วลมแบบใช้ลวดนําความร้อน เท่ากับ 13 m/s คํานวณอัตราการไหลเท่ากับ 0.050 m/s เมื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้า
ทางการเรียน (<g>) เรื่องสมการความต่อเนื่อง พบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และความ
พึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องสมการความต่อเนื่องร่วมกับชุดสาธิตการไหลของของไหลผ่านท่อ
ด้วยลมตามหลักการสมการความต่อเนื่อง พบว่านักเรียนมีระดับความพึงพอใจด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านชุดสาธิต
อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวลิต เลาหอุดมพันธ์. (2556). ฟิสิกส์ขนมหวาน เล่มที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

ปวัฒวงศ์ บํารุงขันท์ และเจริญพร เลิศสถิตธนกร. (2016). ทางเลือกในการระบายความร้อนสําหรับการผลิตไฟฟ้าจากเธอร์
โมอิเล็กทริก. วิศวกรรมสาร มก. 29(97), 87-94. สืบค้น 1 มกราคม 2561, จาก https://www.eng.ku.ac.th/ejournal_th/search.php?name=&numbook=97&type=0&Submit=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2.

ณัฐวดี เจริญสุข. (2556), สมการความต่อเนื่อง. สืบค้น 15 พฤษจิกายน 2560, จาก https://sites.google.com/site/nattawadee06/khwam-ru-keiyw-kab-fisiks/phl-sastr.

นิยม ศรียะพันธ์.(2541).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ระหว่างเรียนร่วมแบบร่วมมือกับการสอนตาม
คู่มือครูของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สืบค้น 24 เมษายน 2561.ฐานข้อมูลวิทยาพนธ์ไทย. https://www.thaithesis.org/detail.php?id=58216.

ปิยะมาศ อาจหาญ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. สืบค้น24 เมษายน 2561. https://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Piyamart_A.pdf.

พงศ์ศักดิ์ ชินนาบุญ (2553). ฟิสิกส์มหาวิทยาลัย 1 เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:บริษัทออฟเซ็ท ครีเอชั่น.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2560). สถิติคะแนนเฉลี่ยย้อนหลัง 9 วิชาสามัญ. สืบค้น 12 เมษายน2561, จาก
https://www.admissionpremium.com/content/3611.

สุรวุฒิ ประดิษฐ์ฐานนท์. (2531). กลศาสตร์ของไหลเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด.

สมพงษ์ ใจดี. (2551). ฟิสิกส์มหาวิทยาลัย 2. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวิทย์ โกสลาทิพย์ และทัศวัลย์ คัมภีระพันธุ์. (2552). วัสดุเทอร์โมอิเลคทริค อีกหนึ่งพลังงานทางเลือกจิ๋วและแจ๋ว.ข่าวสาร
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี, 8(97). สืบค้น 15 พฤษจิกายน 2560, จาก https://webstaff.kmutt.ac.th/~ivorthip/TE/.

ภานุพงศ์ ศิริกุล, พิพัฒน์ ปราโมทย์, และมนูศักดิ์ จานทอง. (2552). การทดสอบระบบจ่ายและระบายความร้อนเพื่อผลิต
ไฟฟ้าด้วยแผ่นเพลเทียร์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 7(1), 22-32. สืบค้น 1 มกราคม 2561, จาก https://www.journal.rmutt.ac.th:8080/index.php/engineering/article/view/161.

มนมนัส สุดสิ้น. (2543). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ของ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียน แผนผังมโนมติ. สืบค้น 24 เมษายน
2561. จาก tnrr.in.th/2558/?page=result_search&record_id=3159.

สาขาชีววิทยาสถาบันส่งเสริมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนา
กระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้น 24 เมษายน 2561 จาก
https://biology.ipst.ac.th/?p=688.

อัญชลี สุเทวี. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา โมเดลกับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Unchalee_S.pdf.