การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและ ความตั้งใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการงดสูบบุหรี่ของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ตามแนวทฤษฎี พฤติกรรมตามแผน การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและ ความตั้งใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการงดสูบบุหรี่ของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ตามแนวทฤษฎี พฤติกรรมตามแผน

Main Article Content

ธชาพิมพ์ อานพินิจนันท์
อริชัย อรรคอุดม
โยธิน แสวงดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมกับพฤติกรรมในการงดสูบ
บุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามแนวทางการสื่อสารในโครงการ “มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่” เป็นวิจัยเชิงปริมาณ
ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ใช้การกําหนดจํานวนกลุ่มตัวอย่าง
ด้วยโปรแกรม G*Power ขนาดจํานวนของกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ 283 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random
Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
เพื่อใช้อธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรและทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ในด้านเจตคติ (Attitude toward the Behavior) นักศึกษาที่มีเจตคติที่ดีต่อการสูบบุหรี่จะมีความ
ตั้งใจที่จะสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ส่วนกลุ่มที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการสูบบุหรี่จะมีความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่อยู่ในระดับต่ํา ในด้านความ
เชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norms) นักศึกษามีความเชื่อว่าถ้าหากในมหาวิทยาลัยมีการจัดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม
การลงโทษผู้สูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามสูบและการสอดแทรกเนื้อหาบุหรี่ในรายวิชาทําให้นักศึกษารู้จักวิธีป้องกันตนเองจากควันบุหรี่จะ
ช่วยให้นักศึกษางดสูบบุหรี่ และในด้านความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม (Perceived Behavioral
Controls) นักศึกษาที่มีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการงดสูบบุหรี่มากจะทําให้มีความตั้งใจที่จะงดสูบบุหรี่และ
มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ถูกที่สูงขึ้น ในการทดสอบปฏิกิริยาร่วมระหว่างเจตคติต่อการกระทําพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ที่มีผลต่อเจตนาในการแสดงพฤติกรรมการงดสูบบุหรี่พบว่าเมื่อนักศึกษามีการรับรู้
ความสามารถในการควบคุมตนเอง และ มีเจตคติที่ว่าการสูบบุหรี่ไม่ใช่พฤติกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งมีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงย่อมทําให้นักศึกษามีแนวโน้มการเกิดเจตนาในการแสดงพฤติกรรมการงดสูบบุหรี่มากขึ้น นอกจากนั้น เจตนาในการแสดง
พฤติกรรมยังมีผลกระทบทางบวกต่อพฤติกรรมในการงดสูบบุหรี่อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษสุดา สถาพรจงพิทักษ์. (2552). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาหญิง วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (รายงาน
การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เขมิกา ปาหา. (2557). เจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมกับความตั้งใจเลิกสูบ
บุหรี่ของข้าราชการตํารวจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนัญชิดา คํามินเศก. (2553). การรับรู้สื่อรณรงค์ Quit Line 1600 สายเลิกบุหรี่ และความคิดเห็นของข้าราชการไทยกองบัญชาการกองทัพไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นนทรี สัจจาธรรม. (2555). ทัศนคติ และความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพ: วิทยาลัยราชพฤกษ์

ปรัชพร กลีบประทุม. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ของผู้สูบบุหรี่ในตําบลบางแก้ว อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

มานิตา ฤทธิ์ล้ําเลิศ. (2550). ประสิทธิผลกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โครงการลดละเลิกสูบบุหรี่ กองทัพเรือ กรณีศึกษาฐานทัพเรือ
สัตหีบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วิไลวรรณ อธิมติชัยกุล. (2560). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร
วิทยาลัยสันตพล ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561. วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.

สนอง คล้ําฉิม. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อันตรายจากควันบุหรี่มือสองกับพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกครอบครัวที่มี
ผู้สูบบุหรี่ (รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุขุมา นิลรัตน์. (2552). ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสอน
ศาสนาอิสลาม อําเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสาวนีย์ อินมั่นคง. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการพัฒนาโปรแกรมเพื่อลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียน
หญิง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). ข้อมูลพฤติกรรมการสูบบุหรี่. สืบค้นจาก https://www.trc.or.th/th/.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior & Human Decision Processes, 50(2),
179-212.

Athamneh, L., Essien, E. J., Sansgiry, S. S., & Abughosh, S. (2017). Intention to quit water pipe smoking among
Arab Americans: Application of the theory of planned behavior. J Ethn Subst Abuse, 16(1) : 80-90.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York, NY: W H Freeman.

Ladapo J. A., Elliott M. N., Kanouse D. E., Tortolero S. R., Windle M., & Cuccaro P. M. (2014). Tobacco use and
smoking intentions among US fifth-grade students. Journal of Adolescent Health. 55(3): 445-51
Page.
R., Suwanteerangkul, J., Sloan, A., Kironde J., & West J. (2012). Thai Adolescents' Normative Beliefs of
the Popularity of Smoking Among Peers, Adults, the Successful and Elite, and Parents. Social Development, 21(4) : 849-867.

So, E. S., & Yeo, J. Y. (2015). Factors associated with early smoking initiation among Korean adolescents. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurse Sci). 9(2) : 115-9.

Tseng, Y. F., Wang, K. L., Lin, C. Y., Pan, H. C., & Chang, C. J. (2018). Predictors of smoking cessation in Taiwan:
using the theory of planned behavior. Psychology, Health & Medicine. 23(3): Pages 270-276.