การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการของพนักงานระดับปฏิบัติการ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัดจำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความน่าเชื่อถือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติอนุมาน แบบ t-test, F-test (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การทั้งในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การจำแนกตามตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพการสมรสที่ต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนระยะเวลาการปฏิบัติงานต่างกันรับรู้พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การแตกต่างกัน นอกจากนั้นยังพบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การในภาพรวมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
2. จิณห์จุฑา ศรีเหรา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารสุนันทามนุษย์กับสังคม, 3(1).
3. ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์.(2560). การรับรู้ถึงการได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม,7(1).
4. นิรุธ เจริญลอย. (2560). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานภาคพื้นดินในสายการบินไทยแอร์เอเชีย.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
5. บดินทร์ หาญบุญทรง. (2555). ปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การรับรู้การสนับสนุนขององค์กรกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ของข้าราชการในสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
6. มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรผ่าน ความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปกร.
7. สกฤษฏ์ ช่องประเสริฐ. (2559). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงาน บริษัท สินก้าวคอนสตรั้คชั่น จำกัด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
8. สุนิษา เพ็ญทรัพย์. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการที่พักแบบรีสอร์ทในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559. วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.
9. สิริกัญญา บุญศิริ และ วัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ศูนย์กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1).
10. สิรินาถ ตามวงษ์วาน. (2554). อิทธิพลของพลังขับเคลื่อนในการทำงาน การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและความผูกพันที่มีต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปกร.
11. สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559).การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ พ.ศ. 2559.กรุงเทพ ฯ :ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Chun-Fang Chiang & Tsung-Sheng Hsieh. (2012). Theimpacts of perceived organizational support and psychological empowerment on job performance: The mediating effects of organizational citizenship behavior. International Journal of Hospitality Management, 31(1), 180-190.
12. Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika, 16(3),297-334.
Dobbins, G.H., Cardy, R.L., & Platz-Vieno, S.J. (1990). A Contingency approach to appraisal satisfaction: an initial investigation of the joint effects of organizationalvariable and appraisal characteristics. Journal of Management, 16(3), 619-632.
13. Eisenberger, R., Huntington R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived organizationsupport. Journal ofApplied Psychology,71(3), 500-507.
14. Organ, D.W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome., Lexington, MA, England: Lexington Books.
15. Podsakoff, Philip M., Ahearne, Michael, MacKenzie & Scott B. (1997). Organizational Citizenship Behavior and the Quantity and Quality of Work Group Performance.Journal of Applied Psychology, 82(2), 262-270.
16. Robbins, S.P., & Judge, T.(2017). Organizational Behavior. (13th ed).Harlow:Pearson Education,Prentice Hall.
Rhoades, L., & Eisenberger, R. (2002). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698-714.
17. Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publication.