การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านผู้วิจัยได้ดำเนินกระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การพัฒนาและหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองตางู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test (แบบ t- test one samples) ผลการวิจัย พบว่า
1) การศึกษาผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ผลของการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าชุดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=4.06, S.D.=0.46) 2) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาทักษะการฟัง เท่ากับ 0.5475 หมายความว่า นักเรียนมีการพัฒนาด้านการฟังเกิดขึ้น คิดเป็นร้อยละ 54.75 และ ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาทักษะการพูด เท่ากับ 0.5063 หมายความว่า นักเรียนมีการพัฒนาด้านการฟังเกิดขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50.63
3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยด้านการฟังร้อยละ 74.54 และคะแนนเฉลี่ยด้านการพูดร้อยละ 75.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.35, S.D.=0.77)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
[2] ทิศนา แขมมณี. (2534). ชุดกิจกรรมการสอนและการฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] ฑีรณัท ขันนาค และสุทัศน์ นาคจั่น. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์. สำนักวิทยาบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
[4] ธีรวัฒน์ โคตรหานาม และไพสิฐ บริบูรณ์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้คลิปภาพยนตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะในการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสกลนคร.
[5] บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
[6] บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. นนทบุรี : เอส.อาร์.พรินติ้ง.
[7] ปกรณ์ ประจัญบาน. (2552). สถิติขั้นสูงสำหรับงานวิจัยและการประเมิน (Advanced Statistics for Researchand Evauation). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[8] ปริญดา สากระแส. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปของ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการอ่านและเขียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.
[9] วราภรณ์ พิมราช. (2559). ผลการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการอภิปรายที่มีต่อความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 4 ฉบับที่ 1.
[10] วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
[11] สุชาดา อินมี. (2556). การพัฒนาการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.
[12] สุรศักดิ์ ปาเฮ (มปป.). (2016). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21, สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2559.
จาก https://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf
[13] อดิศา เบญจรัตนานนท์ และสุชาดา แก้วประถม. (2552). กิจกรรมและสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[14] อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้าน ควนสวรรค์ จังหวัดตรัง. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[15] Houstion, Robert W.; other. (1972). Development of Instructional Modules A Modular System for Writing Modules.College of Education. Texas : University of Houston.