การพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

Main Article Content

ศิริพร ดวงศรี
วันทนา อมตาริยกุล
พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา การวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งศึกษาสภาพภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 311 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์สถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์  ระยะที่สอง  ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน และครูผู้สอน จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า


1. การใช้ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวม 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการบริหารงาน และการให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด


2. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มี 7 ด้าน ดังนี้ 1) ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนอบรมพัฒนาคุณธรรมและอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถ 2) ผู้บริหารโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ 3) ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างขวัญและกำลังใจ4) ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการการบริหารโรงเรียน 5) ผู้บริหารโรงเรียนควรคอยดูแลช่วยเหลือครูผู้สอน 6) ผู้บริหารโรงเรียนควรให้อิสระในการปฏิบัติงาน 7) ผู้บริหารโรงเรียนควรกระตุ้นให้ครูผู้สอนคิดอย่างสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กวี วงศ์พุฒิ. (2550). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บี.เค. อินเตอร์ปรินซ์.

2. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). ความคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

3. จีรวรรณ ศิริบุญ. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสน
ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

4. จุฑามาศ พวงเพชร. (2554). ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของนายกเทศมนตรีในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

5. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2553). 10 ยอดคุณสมบัติหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและทำงานให้อย่างเต็มใจยิ่ง. กรุงเทพฯ: บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์ จำกัด.

6. ประพันธ์พงศ์ ชิณพงษ์. (2551). ความหมายของการมีส่วนร่วม.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวลัยอลงกรณ์. พระนครศรีอยุธยา.

7. มติกาญจน์ จิตกระโชติ. (2562). การบริหารสถานศึกษาแบบโครงการภาษาอังกฤษ. วารสารวิทยาลัยสันตพล. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562.

8. สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2557). ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2557 http://www.supatta.haysamy.com/leader-pro.html.

9. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

10. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

11. Cherry,k (2013). What is democratic leadership?. Retrieved. December 22, 2013 from https://www.
verywellmind.com/what-is-democratic-leadership-2795315.

12. Goleman, D. (2012). Leadership, employee motivation, & school culture.Retrieved November 14, 2013, from http://charterschool101.com/?p=455.

13. Klinker (2014). Decision Making for DemocraticLeadership in a Guided Internship.Department ofEducational Administrator and foundation college of Education Illinois State University.

14. Lussier, R. N., & Achua, C. F. (2007). Effective leadership. 3rd ed. Ohio: South Western.