ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับคุณลักษณะของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ แห่งยุคสารสนเทศสู่องค์การยุคใหม่ในอนาคตของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่ม 1

Main Article Content

สจี กุลธวัชวงศ์
รุจิรา พลแพงขวา
นภาเขตต์ พลยะเรศ
อาวุธ วงศ์สว่าง
กิตติกรณ์ หนองหารพิทักษ์
ภัทรจิตรา เพียรชนะ
ศุภกิจ พาณิชย์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การแห่งยุคสารสนเทศสู่องค์การยุคใหม่ในอนาคตของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนกลุ่ม 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่ม 1 สู่องค์การยุคใหม่
ในอนาคต 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณลักษณะของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่ม 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับคุณลักษณะของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่ม 1 สู่องค์การยุคใหม่ในอนาคต


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่ม 1 ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ด้านการฝึกอบรมและพัฒนา และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นในด้านการสรรหาและคัดเลือก อยู่ในเกณฑ์มาก  (Mean = 4.34)  2) เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป ด้านเพศ ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านสถานภาพ ด้านตำแหน่งงาน ด้านรายได้ต่อเดือน และด้านอายุงานในองค์การ พบว่าในรายด้านและโดยภาพรวม ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD ซึ่งในทุกด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ความสัมพันธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับคุณลักษณะของข้าราขการองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่ม 1 สู่องค์การยุคใหม่ในอนาคต พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.22) ซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจที่จะนำสารสนเทศเข้ามาปรับใช้ให้บุคลากรในหน่วยงานมีคุณลักษณะของทรัพยากรมนุษย์ในยุคองค์การสารสนเทศ และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ระดับปานกลาง r=0.54) ซึ่งบุคลากรในองค์การได้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการใช้ระบบสารสนเทศในการเข้ามามีบทบาทในการประเมินผล เพราะเนื่องมาจากการปรับใช้นโยบายในยุคไทยแลนด์ 4.0

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กัญฐนา สุขแก้ว และชัยนันท์ ปัญญาวุทโส. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายยูทูบของนักศึกษา สาขาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561. วิทยาลันตพล อุดรธานี.

2. เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2556). การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่อิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการโรงพยาบาลสงฆ์. บทความวิจัยนำเสนอการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 6 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันที่ 16-18 มกราคม 2556.

3. วาสนา ศรีอัครลาภ และจิราวรรณ คงคล้าย. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การแห่งยุคสารสนเทศ สู่องค์การยุคใหม่ในอนาคต. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม–สิงหาคม2559, หน้า 328-338.

4. ศิริรวี ราศรี. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล : กรณีศึกษา : องค์การสวนสัตว์. สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะสำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

5. อังคณา ธรรมสัจการ. (2549). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นำผล.

6. องอาจ นัยพัฒน์. (2558). ข้อเปรียบเทียบเชิงความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตามกรอบ TQF กับทักษะ การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และการวัดประเมินผู้เรียนในโลกยุคใหม่ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการบรรยาย.สืบค้น 22 กันยายน 2561 จาก http://cms.swu.ac.th/LinkClick.aspx?fileticket=9iKWLnpqp1k%3d&tabid=7316&portalid=43&mid=19139