4. ปัจจัยคุณภาพชีวิตมีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานธนาคารทิสโก้ (สำนักงานใหญ่)

Main Article Content

ชนิภรณ์ สุขเรือง
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยปัจจัยคุณภาพชีวิตมีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานธนาคารทิสโก้ (สำนักงานใหญ่) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของพนักงานธนาคารทิสโก้ ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารทิสโก้ (สำนักงานใหญ่) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานของธนาคารทิสโก้ (สำนักงานใหญ่) มีจำนวนประชากร 1,155 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 298 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่ออธิบายข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถามและตัวแปรต่างๆ สถิติเชิงอนุมานที่ ใช้ทดสอบ ได้แก่ t-test ANOVA Coefficient Regression และ Correlation


ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพสมรส มีตำแหน่งงานในสำนักงานและมีระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 5 ปี พนักงานธนาคารทิสโก้ (สำนักงานใหญ่) มีระดับความสำคัญของคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย ด้านการเปิดโอกาสให้ก้าวหน้าและพัฒนา ด้านการได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน  และด้านความสมดุลระหว่างภาระงานกับชีวิต พนักงานธนาคารทิสโก้ (สำนักงานใหญ่) มีระดับความสำคัญของความผูกพันต่อองค์การ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเชื่อมั่นยอมรับเป้าหมาย ค่านิยมขององค์การและด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานให้องค์การอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานอยู่ระดับความคิดเห็นของความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับเห็นด้วย ผลการทดสอบสมมุติฐานปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกัน ผลการทดสอบโดยใช้สถิติ ANOVA พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอายุ สถานภาพ ตำแหน่งงาน และระยะเวลาการทำงานแตกต่างกัน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน และปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ ผลการทดสอบโดยใช้สถิติ Regression พบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ อันดับ 1 ด้านเวลาในการทำงานที่เพียงพอในแต่ละวัน อันดับ 2 ด้านรายได้และสวัสดิการที่ได้รับ อันดับ 3 ด้านกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ อันดับ 4 ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถ มีค่า Sig เท่ากับ 0.00 0.01 0.03 และ 0.04 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ณัทพล โตบารมีกุล. (2555). ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อวามผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ธนาคารธนชาติ สังกัดสำนักงานภาคกลาง 3. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

2. กิตติพงศ์ สุวรรณมาโจ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดสำนักงานเขตลำปาง. สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตมหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย เนชั่น.

3. ปิยาภรณ์ เพิ่มสิน (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชน. สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

4. โชติรส คนรักษา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของ พนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารออมสิน ภาค 8. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตมหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

5. ณัฐรุจา แฉ่งฉายา. (2559). คุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 4. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตมหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

6. สุนิษา เพ็ญทรัพย์. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการที่พักแบบรีสอร์ทในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559. วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.