ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาวพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาวและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาวกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ที่ใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาว เลือกตัวอย่างจำนวน 330 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานโดยค่า T-test One Way ANOVAการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบ Regression Analysisและ CorrelationCoefficientค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย T-test F-test (One-Way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/องค์กรเอกชน ทำงานระดับปฏิบัติการ สถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,001- 45,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการใช้บริการเป็นการใช้บริการเพราะรสชาติและคุณภาพของอาหาร ใช้บริการเฉลี่ยเดือนละครั้ง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งต่อคนคือ 2,130 บาท นิยมบริโภคอาหารบุฟเฟ่ต์นานาชาติ ทานมื้อเย็นกับครอบครัวในวันเสาร์ ช่วงเวลา17.01-20.00น.ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับตำแหน่ง และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาวที่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาผู้บริหารห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาวควรเลือกทำเลที่ตั้งของห้องอาหารที่การคมนาคมสะดวก อยู่ใกล้แหล่งชุมชน หากโรงแรมตั้งอยู่ไกลจากจุดขึ้นลงรถไฟฟ้า จัดให้มีบริการรถรับส่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเป็นรอบช่วงเวลาของห้องอาหารในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้นำรถเข้ามาจอดที่โรงแรมปรับเปลี่ยนหรือหมุนเวียนรูปแบบและชนิดของอาหารให้มีความหลากหลายอยู่เสมอ กำหนดราคาให้มีความเป็นมาตรฐานเหมาะสมกับคุณภาพออกแบบผังการจัดโต๊ะและที่นั่งภายในร้านให้ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม รักษาความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหารของลูกค้า จัดพนักงานบริการให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้บริการ อบรมพนักงานให้มีความพร้อมในการให้บริการ และเน้นการใช้สื่อโฆษณาทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้ลูกค้ารับทราบการส่งเสริมการขายที่เป็นปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
2. ศรทัสย์ บัวป่า และ ลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์. (2561). คุณภาพการบริการของบูติครีสอร์ทมีความสัมพันธ์ต่อการให้ความสําคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561).
3. ชวัล เอี่ยมสกุลรัตน์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการบริโภคอาหารนานาชาติของประชากรในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
4. นัฐพล จากาจร. (2560). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดบริการ คุณภาพการบริการ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟต์ญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
5. วรัญญา ลีลาวดี. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ของผู้บริโภคทที่
ถนนสีลม.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสยาม.
6. วิลาสินี พิพัฒน์พัลลภ. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ.ปีที่ 1 ฉบับที่ 4.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. อัญธิกา แก้วศิริ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
8. Kotler P and Armstrong G. (2013). Principles of Marketing (15th ed.). Sydney: Pearson Prentice Hall.
9. Lovelock C and Wirtz J. (2011). Service marketing (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
10. Philip Kotler and Gary Armstrong. (2011). Principles of marketing (14th ed.). Pearson Prentice Hall.