2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4

Main Article Content

ปรียาพร อนุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียน 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน  และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4  ปีการศึกษา  2556 จำนวน 1,795 คน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน   ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น   เขต 4 มีภาวะผู้นำใฝ่บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบหลักการมีวิสัยทัศน์  องค์ประกอบหลักการคุ้มครองดูแลรักษา และองค์ประกอบหลักการสร้างความร่วมมือร่วมใจ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ  มีประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  ความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน   ความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน  และความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก  อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ  และมีภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับสูง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  โดยภาวะผู้นำใฝ่บริการองค์ประกอบหลักการมีวิสัยทัศน์  ได้แก่ องค์ประกอบย่อยการตระหนักรู้  การมองการณ์ไกลและการสร้างมโนทัศน์  องค์ประกอบหลักการคุ้มครองดูแลรักษา ได้แก่ องค์ประกอบย่อยการรับฟังอย่างตั้งใจ การกระตุ้นและให้กำลังใจ การพิทักษ์รักษาและการเห็นอกเห็นใจ และองค์ประกอบหลักการสร้างความร่วมมือร่วมใจ ได้แก่ การโน้มน้าวใจ  การมุ่งมั่นพัฒนาคนและการสร้างชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น การแก้ปัญหาภายในโรงเรียน  การปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน และด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญช่วย ศิริเกษ. (2540). พฤติกรรมองค์การในการบริหารการศึกษา. เลย : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเลย.

ปรีชา ทัศน์ละไม. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1- 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พันธุ์เทพ ใจคำ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พัชรนันท์ กลั่นแกล้ว.(2008 , August). เคล็ดลับการสร้างแรงกระตุ้นลูกน้องให้มีไฟในการทำงาน.บทความ For Quality. 15 (130).

พิมพรรณ สุริโย.(2552). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองส่วน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วินัย คำประดิษฐ์. (2547). องค์ประกอบที่สัมพันธ์เชิงสาเหตุกับประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศิวิมล สุขทนารักษ์.(2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2546). การพัฒนาการบริหารสถาบันกาศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุเทพ พงษ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.

เสาวนี ตรีพุทธรัตน์.(2548).ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลในการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Spears, L.C. (1996). “Reflection on Robert K.Greenleaf and Servant Leadership.” Leadership and Organization Development Journal 17 (7) : 33-35.

__________ (2004). The Understanding and Practice of Servant-leadership. In L. C. Spears,