การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร กับการใช้เกมการศึกษา

Main Article Content

วิลัยภรณ์ สมศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมประกอบอาหาร และการใช้เกมการศึกษาสำหรับพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (2)  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมประกอบอาหาร และการใช้เกมการศึกษาของเด็กปฐมวัย (3)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย  ระหว่างการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร  กับการใช้เกมการศึกษา ระหว่างก่อน และหลังการจัดประสบการณ์  (4)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย  ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร  กับการใช้เกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  เด็กปฐมวัยอายุ  3-5  ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม  สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง   จำนวน  40  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่   แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์   แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหามีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด  แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One Way ANCOVA
ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย  โดยกิจกรรมประกอบอาหาร   มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.97/80.62 และ 87.09/86.75    ตามลำดับ และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7420  และ  0.8123  (2)  เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย  ระหว่างการจัดกิจกรรมประกอบอาหารกับการใช้เกมการศึกษา  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (3)  เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การใช้เกมการศึกษาสูงกว่าการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2546. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

กรมวิชาการ. 2540. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ

กัญญชลา ศิริชัย. 2549. ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ ค.ม. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
กัญญารัตน์ แก้วละเอียด. 2554. ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ลักคะณา เสโนฤทธ์. 2551. ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิมลรัตน์ ศรีสุข. 2553. การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการสร้างมโนทัศน์กับรูปแบบการแปลงเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถทางการคิดแบบอุปนัยของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ

Baroody,A.J. 2000. Does mathematics instruction for three – to five – year – olds really make sense, Young Children

Brewer,J.A. 1995. Introduction to Early Childhood Education : Preschool through Primary Grades. Boston : Allyn Bacon

Bryant, C.K.; & H.R. Hungerford. An Analysis of Strategies for Teaching Environmental Concepts and Values Clarfication in Kindergarten, Journal of Environmental Education : 1977

Mayesky, Mary. 1998. Creative Activities for Young Children.United States of America : Delmar