การศึกษาความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง ที่มีต่อพฤติกรรม การใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

Main Article Content

โสภา ชัยพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1 ใน 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านการสื่อสาร ด้านความบันเทิง (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1 โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือแบบสอบถาม เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ สถิติทดสอบ (Independent t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis) ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน


  1. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านความบันเทิง มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับปานกลาง โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

  2. ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. โรงพิมพิองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ : กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2555). คู่มืออบรมปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet)เพื่อยกระดับการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ :สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

-------- . (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

-------- . (2553). คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เพื่อยกระดับการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

ครรชิต มาลัยวงศ์ และคณะ. (2544). รายงานสํารวจสถานภาพและความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา,.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2555). เปิดโลก Tablet สู่ทิศทางการวิจัยด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา : จากแนวคิดสู่กระบวนการปฏิบัติ. เอกสารประกอบการบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา, อัดสำเนา .

ยืน ภู่วรวรรณ.(2555). แท็บเล็ตกระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ กับความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้า. มติชน รายวัน วันที่ 10 มิถุนายน 2555 หน้า 6.

วีรวรรณ สุกิน. (2551). “อิทธิพลของจิตลักษณะและสถานการณ์ในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพของอาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์”. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎี บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (วีรวรรณ สุกิจ,2551 อ้างถึงใน Steven,1996).