ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนิน งานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เน้นศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์องการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงาน
เป็นทีมของครูผู้สอน ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ รองลงมา คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ส่วนด้านที่มีค่าต่ำที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ
- การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าสูงที่สุด คือ ด้านการประสานงาน รองลงมา คือ ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าต่ำที่สุด คือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์
3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.825) รายด้านพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (r = 0.816) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ( r = 0.816) มีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นทีมในระดับสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (r = 0.793) และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (r = 0.790) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และที่แก้ไข เพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กฎกระทรวง. เอกสารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.อันดับที่ 1/2544. กรุงเทพฯ. (อัดสำเนา).
เกรียงไกร จักรเพชรสังข์. (2550). ปัญหาการเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนจังหวัดและอำเภอ ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน กลุ่มไทย –อันดา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.
ดิเรก ศรีโยธา. (2551). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ทับทิม อติอนุวรรตน์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาสน์.
บุญช่วย ศิริเกษ. (2540). พฤติกรรมองค์การในการบริหารการศึกษา. เลย : สถาบันราชภัฏเลย.
สำนักงาน กศน. (2555). แนวทางการประกันคุณภาพภายใน กศน.อำเภอ/เขต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงาน กศน. (2556). คู่มือการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัดสำหรับการศึกษานอกระบบ. กรุงเทพฯ : รังสีพิมพ์.
อัจชรา วรีฤทธิ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1-3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
Bass, B., & Avolio, B. J. (1997). Full range leadership development : Manual for the Multifactor leadership Questionnaire. Pale Alto, CA: Mind garden.