2. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4

Main Article Content

สาคร มหาหิงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 และแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่าสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4 ภาพรวมมีการดำเนินงานในระดับมากทั้ง 10 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม
ด้านหลักประสิทธิภาพ ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการตอบสนอง ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านหลักความเสมอภาค และด้านหลักฉันทามติตามลำดับแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 1) ควรกำกับ ดูแล ส่งเสริมให้บุคลากรประพฤติปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆของการบริหารงานในสถานศึกษา 2) ควรมีการควบคุม การปฏิบัติงานด้านการเงิน พัสดุ ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ 3)ควรจัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสถานศึกษาอย่างเปิดเผย 4) ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของสถานศึกษา 5) ควรควบคุม ดูแล บำรุงรักษา ตกแต่งและซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 6) ควรปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์
ที่ชัดเจนมีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึง มีการติดตาม ประเมินผล และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 7) ควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 8) ควรมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา 9) ควรให้ความเป็นธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา 10) ควรรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2546, น.8). ธรรมาภิบาลกับการคอรัปชั่นในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ปรินติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

ธีระ รุญเจริญ. (2548). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พระสุทธิศักดิ์ สุภกิจโจ. (2554). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสมัย หมกทอง. (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิชัย โนนทิง. (2551). สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์.(2552). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินนารถ นันทวัฒนภิรมย์. (2547). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาล อำเภอเมืองลำพูน. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันเพ็ญ พานพิกุล. (2552). การบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดปราสาท อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. (2559). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. ขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวปฎิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.(2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สุรพงษ์ ปัญญาอุดมกุล. (2552). การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนขุนควรวิทยาคม อำเภอปง จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.