สภาพการเรียนวิชาประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนวิชาประกันคุณภาพการศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการเรียนวิชาประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์วิทยาลัยสันตพลจำแนกตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน สถานะภาพ สังกัดสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพลจำนวน 52 คนกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง0.33 - 0.92 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.937 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนวิชาประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล โดยรวมและรายด้านมีสภาพการเรียน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) เพศ อายุ สถานภาพ และประสบการณ์ทำงาน ต่างกัน สภาพการเรียนประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ขนาดสถานศึกษา สังกัดสถานศึกษา ต่างกันสภาพการเรียนประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ไม่ แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
จริยกุลบุญยา. (2554). การเห็นคุณค่าในตนเองการสนับสนุนทางสังคมกับสภาพการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชจังหวัดอุบลราชธานี.การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชัชลินีจุ่งพิวัฒน์. (2547). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความขยันหมั่นเพียรในการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทพิการอดสการ. (2548). การศึกษาสภาพการเรียนของนักศึกษาวิชาเอกดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฎเขตภาคเหนือ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นลินี ทวีสิน. (2552). นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย. สืบค้นมาจาก http://www.lib.dtc.ac.th สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2557.
นุชนารถแช่มกัน. (2550). การเผชิญความเครียดและสภาพการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า.การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยามหาสารคาม. พิมพ์ครั้งที่ 4.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2551). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษาโครงการตำรา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยามหาสารคาม. พิมพ์ครั้งที่ 4.
พระมหาสุชาติ ใหมอ่อน. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการเรียนของพระนิสัยคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วชิระพิมพ์ทอง. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับสภาพการเรียนของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคมจังหวัดสุรินทร์.การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วนิดากันทาแก้ว. (2550). ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคเชาว์อารมณ์และสภาพการเรียนของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตกรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสาวนี บุญเกตุ. (2552). การใช้ชีวิตประจำวันและสภาพการเรียนของนักศึกษาที่พักอาศัยในหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสาวรสแก้วหิรัญ. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสภาพการเรียนของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตเชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดมลักษณ์ ราชสมบัติ และ ชัยยา น้อยนารถ. (2554). สภาพการเรียนและเจตคติของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติพื้นฐานของนักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
Loomis,K.D. (2000). Learning styles and asynchronous/learning : Comparing the LASSI model to class performance. Dissertation Abstracts International. 19 (27) ,876 –A (UMI NO.2924588)
Moser, D. K., Riegel, B., McKinley, S., Doering, L., An, K., &Sheahan, S. (2007). Impact of anxity and received control on in-hospital complications after acute myocardial infarction. Psychosomatic Medicine, 69(1), 10-16.
Meckenaie, Alec. (1989).Time for Success : A Goal Getter’s Strategy. New York :McGrow-hill, Inc.Smith, M., Robinson, L., & Segal, J. (2011). Anxiety attacks and disorders: signs, symptoms, and treatment. Retrieved January 25, 2012, from http://www.helpguide.org/mental/anxietytypessymptoms treatment.htm
Meckenaie, Alec. (1989).Time for Success : A Goal Getter’s Strategy. New York :McGrow-hill, Inc.Smith, M., Robinson, L., & Segal, J. (2011). Anxiety attacks and disorders: signs, symptoms, and treatment. Retrieved January 25, 2012, from http://www.helpguide.org/mental/anxietytypessymptoms treatment.htm
Weinstein, C. E., & Palmer, D. R. (2002). Learning and Study Strategies Inventory (LASSI): User’s manual (2nd ed.). Clearwater, FL: H & H Publishing.