ประสิทธิภาพการจัดการรายได้ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ ส.ป.ก.: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้พื้นที่ ส.ป.ก. ในเขตเทศบาลตำบลบ้านค้อเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนารายได้ ของเทศบาลตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 คน โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายประชากรที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก.
มีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก ผู้บริหารท้องถิ่น และบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านค้อ รวมทั้งนำข้อมูลใช้ประโยชน์ที่ดินตำบลบ้านค้อ ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างในตำบลมาประกอบกับวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการลงพื้นที่ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์พื้นที่ ส.ป.ก. ในเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้วยการประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม คือ การทำนาและทำไร่ ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากภาษีแก่เทศบาลตำบลบ้านค้อมากนัก ฉะนั้น ในการพัฒนารายได้ เทศบาลตำบลบ้านค้อจึงควรดำเนินการตามแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ ส.ป.ก. แบ่งเป็น 5 แนวทาง คือ 1) การกำหนดนโยบายส่งเสริมการเกษตรด้านการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 2) ส่งเสริมการเลี้ยงโคนม 3) ส่งเสริมหน่วยงานภายนอกหรือภาคเอกชนเข้ามาลงทุนด้านเกษตร 4) ปรับปรุงข้อมูลการจัดเก็บรายได้และสำรวจข้อมูลพื้นที่ ส.ป.ก. ให้เป็นปัจจุบัน และ 5) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรงานจัดเก็บรายได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
[2] ชูชิต ชายทวิป. (2561). การบริหารการคลังท้องถิ่นระดับเทศบาลในเขตเมืองและเขตภูมิภาค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(1), 58.
[3] นฤพงศ์ สันทราย. (2558). พลวัตนอกกรอบกฎหมายที่หยุดนิ่ง: กรณีพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารนิติสังคมศาสตร์, 8(2/2558), 190.
[4] ปิยากร หวังมหาพร. (2557). รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยกับการบริการโครงการด้านสังคม : อิสระของท้องถิ่นหรือตัวแทนรัฐ. วารสารช่อพระยอม, 25(1), 97 – 101.
[5] มาศรี เงินเย็น. (2560). การกำหนดนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินผิดประเภท: กรณีศึกษา“พะเยาโมเดล”ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 14 – 18.
[6] วาสนา ขอนทอง, ปาจรีย์ ผลประเสริฐ, และสิทธิเดช วงศ์ปรัชญา. (2553). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 16(1), 137-139.
[7] ศิริขวัญ โสดา. (2562). การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูแบบทั่วไป กรณีศึกษาการกู้ยืมเงิน. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 12 – 13.
[8] สกนธ์ วรัญญวัฒนา. (2553). วิถีใหม่การพัฒนารายได้ท้องถิ่นไทย. สถาบันพระปกเกล้า.
[9] สุขแก้ว คาสอน และสวนีย์ เสริมสุข. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 25 – 29.
[10] สุนิสา เกิดมี และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2556). แนวทางการพัฒนารายได้ขององค์การบริหารส่วน ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. บทความวิจัย เสนอในการประชุมหาดใหญ่ ครั้งที่ 4 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556, หน้าที่ 26.
[11] สัมพันธ์ พลภักดิ์ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2558). การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรของสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์, 5(2), 100.
[12] อนุวัฒน์ ฮวดศิริ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลใน จังหวัดชุมพร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.