การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามความต้องการจำเป็นของครู : กรณี ศึกษาโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1

Main Article Content

เดช สาระจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามผลการประเมินความต้องการจำเป็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1   2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ตามผลการประเมินความต้องการจำเป็นก่อนและหลังการพัฒนาของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ  ประชากร คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 จำนวน 102 คน  เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93   แบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales)  3 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 และ แบบบันทึกข้อมูลการนิเทศ เป็นแบบเติมคำในช่องว่าง  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการหาความถี่ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Priority Needs Index (PNI) (แบบปรับปรุง)  ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test (Dependent)


           ผลการวิจัย  1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  การสนับสนุนวัสดุหรืองบประมาณสำหรับการจัดทำสื่อการเรียนรู้การปฏิบัติการนิเทศให้คำปรึกษาและติดตามผลการจัดการเรียนรู้ของครูร่วมกันระหว่างศึกษานิเทศก์กับทีมวิทยากรชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ  การแสดงความชื่นชมและมอบรางวัลสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การประชุมปฏิบัติการจัดทำสื่อการเรียนรู้ร่วมกัน การประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  การเรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ การจัดอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน กับวิทยากรชาวต่างประเทศเจ้าของภาษา  การประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  การประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างและการใช้เกม เพลง และกิจกรรมเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ  และ การจัดอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน กับวิทยากรชาวไทย  การดำเนินการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูได้ดำเนินการตามผลการวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น  ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ในโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประจำปีงบประมาณ 2557- 2558  2)  ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษหลังการพัฒนาครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). การศึกษาอบรมเชิง พัฒนา. พี.เอ.ลีฟวิ่ง. กรุงเทพมหานคร.

ดนัย เทียนพุฒิ. (2545). การออกแบบและพัฒนาความรู้ในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. นาโกต้า จำกัด.

นพมาศ หงษาชาติ. (2553). การพัฒนารูปแบบการอบรมครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยบูรณาการแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์ยุคหลังสมัยใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2553. มหาวิทยาลัยราชภัฏฉะเชิงเทรา.

มณนิภา ชุติบุตร. (2553). การพัฒนาคุณภาพครูด้วยวิธีเสริมพลัง. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3.

ลลิดา ภู่ทอง. (2552). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนบน. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วีระชัย จิวะชาติ (2556).แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา : ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรแนวใหม่. (ออนไลน์ : 26 กันยายน 2556)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. (2555). แผนปฏิบัติการนิเทศ ประจำปีงบประมาณ 2555. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร:

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:

Glickman & Others. (2004). Supervision of Instruction : A Developmental Approach. 4thed. Boston :Allyn& Bacon.

Wiles,Jon & Bondi, Joseph. (2004). Supervision : A Guide to Practice. 6thed. NewJersey : Pearson Prentice - Hall.

Witkin, B.R. (1994). Needs Assessment Since 1981 : The state of the practice. Evaluation Practice. 15(1) : 17 – 27.