8. แรงจูงใจในการเข้าวัดของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Main Article Content

ปฐมวรรณ ขวัญแก้ว
จริยา คำธร
พรรณวดี ขำจริง
ลลิดา ภคเมธาวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและศึกษาเหตุผลการเข้าวัดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) นักศึกษาชั้นปีที่3 (ภาคปกติ) ปีการศึกษา 2559 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 524 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 207คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเกี่ยวกับ ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม เหตุผลการเข้าวัด และ แรงจูงใจในการเข้าวัดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  ใช้สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพอสรุป  ได้ดังนี้


ข้อที่ 1. พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีแรงจูงใจในการเข้าวัดนักศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 3  (ภาคปกติ) ปีการศึกษา 2559คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อันดับที่ 1 เพื่อการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษเป็นความเชื่อของคนไทย(  = 4.15), (S.D. = .854) อันดับที่ 2 ทำจิตใจให้สงบ ( =4.12),(S.D.=.798)  และอันดับที่ 3 เป็นการแก้บน ( = 3.42), (S.D.= 1.111)


            ข้อที่ 2. พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ให้เหตุผล  อันดับที่ 1 เพื่อความสบายใจ จำนวน 141 คน คิดเป็นร้อยละ 68.10  อันดับที่ 2 ต้องการที่พึ่งทางใจ  จำนวน 127 คน  คิดเป็นร้อยละ 61.40  และอันดับที่ 3 ฟังเทศน์ฟังธรรมตามกาลคือเหตุผลในการเข้าวัด จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 44.90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุญชรี ค้าขาย. (2540). จิตวิทยาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. ลพบุรี : ศูนย์การพิมพ์ วิทยาลัยครูเทพสตรี.

กีรติ กมลประเทืองกร. (2551). คุณค่าของการสวดมนต์ที่มีต่อพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย กรณีศึกษา: พุทธศาสนิกชนวัดมหาธาตุยุวราชวี สฤษฏี .(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

ขนิษฐา วิเศษสาธร. (2537). แรงจูงใจทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ: บุ๊คพ้อย.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2: กรุงเทพ.บุ๊คพ้อย.

ไจรัส เจียมบรรจง.(2523).จิตวิทยาสังคม.กรุงเทพฯ.มหาวิทยาลัยพระนคร.

ดำรงศักดิ์ จงวิบูลย์. (2543). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ดุษฏี คนแรงดี. (2549). บทบาทขอวัดในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการทำบุญ กรณีศึกษา : วัดสังฆทานและวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ.(รายงานการวิจัย.มหาวิทยาลัยมหิดล).

ถวิล เกื้อกูลวงศ์. (2528) .การจูงใจเพื่อผลงาน. นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปกรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

นาม สงวนทรัพย์. (2535). สารัตถจิตวิทยาสังคม.กรุงเทพฯ:โอเดียนสไตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร:สุวิริยาสาส์น.

บุญทนา จิมานัง. 2549). พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ปรเมศวร์ โพธิ์คล้าย. (2541). แรงจูงใจการเลือกเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยนาฏศิลปะในภาคะวันออกเฉียงเหนือ.(ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคราม).

พนิส หันดาคินทร์. (2542). ประสบการณ์ในการบริหารบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

พระครูสิริรัตนานุวัตรและคณะ. (2555). อิทธิพลการบนบาน บวงสรวงในสังคมไทย. วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช.

พระอภัย อภิชาโต (ชูชุนทก). (2554). การศึกษาหลักธรรมสำหรับพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

พระอธิการช่วง ฐิตโสภโน. (2554). ศึกษาคติทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในประเพณีสารทเดือนสิบ(แซนโฎนตา). กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย).

วิเชียร เผือกสม. (2553). คติธรรมความเชื่อกับพฤติกรรมการเข้าวัดของพุทธศาสนิกชนกรณีศึกษาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎี. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อาทิตยา จารุจินดา. (2546). พฤติกรรมทางศาสนาของคนในสังคมเมือง : กรณีศึกษาวัดสนามนอกและวัดสนามในตำบลวัดชะลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร).

อรวัฒนา ชินพันธ์. (2553). รูปแบบการแสดงละครรำแก้บนประกอบพิธีความเชื่อ : กรณีแสดงที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.