10. ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการทำงาน Part Time ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Main Article Content

นุชนาท ช่วยหวัง
จุไรรัตน์ ปนแก้ว
พรรณวดี ขำจริง
ลลิดา ภคเมธาวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการทำงาน และผลจากการทำงาน part time ของนักศึกษา วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงาน แบบตรวจรายการ (Check List) ของนักศึกษาและตอนที่ 3 เกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการทำงาน เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของ Likert วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในที่ส่งผลต่อการทำงาน part timeของนักศึกษามากที่สุด คือ ต้องการช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว ( =4.53) และรองลงมา คือ มีความพยายามที่จะหาเงินเอง เพื่อที่จะไม่รบกวนครอบครัว ( =4.43)

  2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายนอกที่ส่งผลต่อการทำงาน part time ของนักศึกษามากที่สุด คือ ค่าแรงเป็นสิ่งจูงใจในการเลือกทำงาน part time ( =4.39) และรองลงมา คือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ( =4.36)

  3. ผลที่เกิดจากการทำงาน part time พบว่า คือ ได้แบ่งเบาภาระครอบครัว ระดับมากที่สุด จำนวน 226 คน
    ร้อยละ 59.00 รองลงมา คือ มีรายได้มีเงินใช้ จำนวน 90 คน ร้อยละ 24.00 และน้อยสุด คือ มีความรับผิดชอบมากขึ้น จำนวน 13 คนร้อยละ 3.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการมีงานทำของนักเรียน นักศึกษาให้มีรายได้ระหว่างเรียนของกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชุติกาญจน์ วงศ์บาตร. (2556). รายงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานพิเศษระหว่างเรียนของนักศึกษากลุ่มสายสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2556. (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชวลิต สุวชัยสุทธ. (2553). รายงานวิจัยเรื่องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานพิเศษระหว่างวัยเรียนของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2553. (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เทื้อน ทองแก้ว. (ม.ป.ป.). ทฤษฏีทุนมนุษย์ (Human Capital). ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 7 2559, จาก https://www.hitpages.com/doc

นิรมล สุธรรมกิจ.(ม.ป.ป.). เศรษฐศาสตร์การพัฒนา เบื้องต้น. ค้นคืนเมื่อ สิงหาคม 15 2559, จาก http://agri.stou.ac.th/UploadedFile/91721- 4.pdf.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2559). จำนวนนักศึกษาที่มีสถานภาพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 15 2559,จาก
http://www.pkru.ac.th/th/

สุวลี สาคำ. (2549). รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาการทำงานพิเศษระหว่างเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2549. (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิชัย ใจจิตร. (2556). รายงานวิจัยเรื่องอุปสงค์การทำงานพิเศษของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ntice –hall.