12. การศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกต่อผู้บริโภค อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

นนทิพัฒน์ ไชยโสดา
วิวัฒนา เย็นวัฒนา
ปรียานุช พวงเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการรับชมดิจิตอลทีวีในพื้นที่เริ่มต้นของการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้ประชากรที่บ้านมีเครื่องรับโทรทัศน์ใน อำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 115,200 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5,760คนเพศชายจำวน 2,370คน เพศหญิง จำนวน 3,390 คน คิดเป็น 5% ของจำนวนประชากรในพื้นที่ ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)


ผลการวิจัยพบว่า 1)ประชาชนอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด มีความพึงพอใจในการรับชมดิจิตอลทีวีมากที่สุด จำนวน 2,198 คน คิดเป็นร้อยละ 38.16 และรองลงมา คือ พึงพอใจมาก จำนวน 1,508 คน คิดเป็นร้อยละ 26.18 ตามลำดับ2) ประชาชนมีความพึงพอใจในการได้รับบริการติดตั้งกล่องและปรับช่องสัญญาณมาก จำนวน 1,848 คน คิดเป็นร้อยละ 32.08 และรองลงมา คือ พึงพอใจมาก จำนวน 1,527 คน คิดเป็นร้อยละ 26.51 ตามลำดับ3) ประชาชนมีความพึงพอใจการได้รับความช่วยเหลือบริการเมื่อมีปัญหาการติดตั้ง/รับชมในระดับมาก จำนวน 1,607 คน คิดเป็นร้อยละ 27.90 และรองลงมา คือ พึงพอใจปานกลาง จำนวน 1,512 คน คิดเป็นร้อยละ 26.25 ตามลำดับ4) ประชาชนมีความพึงพอใจที่ภาพมีความคมชัด มีคุณภาพเสียงดีกว่าระบบเดิมมากที่สุด จำนวน 1,718 คน คิดเป็นร้อยละ 29.83 และรองลงมา คือ พึงพอใจปานกลาง จำนวน 1,668 คน คิดเป็นร้อยละ 28.96 ตามลำดับ5) ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับสัญญาณได้ทุกพื้นที่มากที่สุด จำนวน 1,616 คน คิดเป็นร้อยละ 28.06 และรองลงมา คือ พึงพอใจมาก จำนวน 1,526 คน คิดเป็นร้อยละ 26.49 ตามลำดับ6) ประชาชนมีความพึงพอใจการรับชมรายการทีวีได้ทุกช่องทุกรายการ มากที่สุด จำนวน 1,647 คน คิดเป็นร้อยละ 28.59 และรองลงมา คือ พึงพอใจมาก จำนวน 1,634 คน คิดเป็นร้อยละ 28.37 ตามลำดับ7) ประชาชนมีความพึงพอใจเนื้อหารายการทีวีมีความหลากหลายมากที่สุด จำนวน 1,967 คน คิดเป็นร้อยละ 34.15 และรองลงมา คือ พึงพอใจมาก จำนวน 1,522 คน คิดเป็นร้อยละ 26.42 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรินธร ธนาศิลปกุล. (2545). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร. หน้า 18.

สมวงศ์พงศ์สถาพร. (2547). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร : เลฟแอนด์ลีฟ, 2557. หน้า 59.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เพรส แอนด์ดีไซน์จำกัด.

Campbell, A. 1976. Subjective measure if well – being. American Paychologist. pp.117

Hinshaw, A.S. and Atwood J.R.. 1982. A patient satisfaction instrument :Precisiontry Replication. Nursing Research. pp.170-171.

Katz E, Jay G. Blumler and Michale Gurevitch. (1974). The Used of Mass Communication: Current Perspectives on Gratifications Research. Beverly Hill : Sage Publications.

McQuail, Blumler and Brown, J.G. (1972). The Television audience in fogilogy of Mass communication. Harmondswirph : Penein.

Vroom,W.H.. 1964. Working and Motivation. New York : John Wiley.