การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต (2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงและการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านบริบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาของกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อการกำหนดนโยบายและการวางแผนจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อโรงเรียนได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการวางไว้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อนักเรียนทุกคนได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงประเมินผล และได้รับการวางแผนแก้ไขเมื่อพบปัญหาอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อบริการของโครงการฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าการรวบรวมข้อมูลผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน จึงมีข้อเสนอแนะให้สถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร จัดทำแผนงานพาคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพไปศึกษาดูงาน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และเป็นแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ชูชื่น พงษ์ดี. (2553). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนราชดําริสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ธิดา ฉีมพลี. (2549). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระพันธ์ ชวนจิตต์. (2549). การประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) เทศบาลนครสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2551). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2558). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2559. สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สำหรับโรงเรียนประถม และมัธยมศึกษา ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2558). คู่มือการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2558. กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.
สุภา ป้อมลอย. (2550). การดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุภาพร แซ่อึ่ง. (2551). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มโรงเรียนเอกชนสามัญ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สงค์การ สุทธวงศ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมพลังอำนาจแก่ครูกับความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558. วิทยาลันตพล อุดรธานี.
อารีวรรณ อ่วมตานี. (2554). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.