13. ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้โครงงานคุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุพิชญ์ชญา เยี่ยงวิญญู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรม 3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรม 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนวัดหนองเกตุใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 50 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน และแบบสอบถามความพึงพอใจ  ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test dependent          


             ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.30/84.10  2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) พฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับดี 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องชีวิตเป็นสุขและการบริโภคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรม มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ. (2554). คู่มือโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระ เกียรติพุทธชยันตรีเฉลิมราช.กรุงเทพฯ : กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ.

ฐิติยา เนตรวงษ์. (2555). การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยวิธีการเรียนรู้ด้วยเทคนิคกลุ่มสืบสอบและใช้โครงงานคุณธรรมเป็นฐานรายวิชาการบูรณาการสารสนเทศสำหรับนักศึกษาหลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ดวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา เศรษฐกิจของระเทศและ ความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดเรียนรู้แบบ โครงงานชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นราทิพย์ พุ่มทรัพย์. (2555). เราคิดอะไร. สืบค้นจาก http//:ww.asoke.info.//วันที่สืบค้น 2557,27 ตุลาคม.

เบญจวรรณ ใจแก้ว. (2556). การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบุบผารวม จังหวัดเชียงใหม่. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เผชิญ กิจระการ. (2544). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวโส. (2555). มุ่งสู่เป้าเข้าถึงแก่นโครงงานคุณธรรม. กรุงเทพฯ: อินฟินิโกลบอลเทรด.

พุทธรักษา ศรีธัญรัตน์. (2553). พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

มาเรียม นิลพันธ์. (2549). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. นครปฐม, โครงการส่งเสริมการตำราและเอกสารการสอนคณะศึกษาศาสตร์ .มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มุกดาภรณ์ พนาสรรค์. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานกับผังมโนทัศน์และกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี.( 2546). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม สำหรับงานวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพฯ: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555–2559) สำนักงาน แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสำนักแห่งชาติ.

สมนึก ภัททิยธนี .(2546). การวัดผลการศึกษา . พิมพ์ครั้งที่ 4 .กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์

สมพร เทพสิทธา . (2548). การเดินตามรอยยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนและการทุจริต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ สภายุวพุทธิสมาคมแห่งชาติ .

สัญญา ไชยประเสริฐ. (2553). ผลการพัฒนาคุณธรรม พื้นฐาน 8 ประการของนักเรียนนักศึกษา โดยใช้กิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยียโสธร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง .(2551). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานบริหารและพัฒนา ความรู้ . (2554) . สภาวะสังคมไทย สืบค้น เมื่อ 17 สิงหาคม 255 จากhttp : // th.wikipedia.org/wiki

สำนักงานปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ. (2548). คู่มือนำทางชีวิต รักพ่อ เพื่อพ่อ ขอดำเนินชีวิตด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: คุณาไทย.

สิทธิญา รัสสัยการ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สุนทร พรหมดี. (2553). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการประหยัดโดยใช้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกงาม อำเภอด้านซ้าย จังหวัดเลย.ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.